นาย วีระชน จันทะนาม
กระผมนายวีระชน จันทนามเป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ประเภทประชาชนของตำบลหนองบัวโคกอำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ได้รับแจ้งจากอาจารย์ประจำตำบลว่าจะมีการจัดอบรมผลิตภัณฑ์ส้มหมูเป็นผลิตภัณฑ์ของบ้านห้วยศาลาหมู่ 1 โดยจะจัดการอบรมในวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา0900 ถึง 16.00 น. และจะมีวิทยากรภายนอกเข้าร่วมในการอบรมและให้ความรู้ในการอบรมเพื่อพัฒนาส้มหมูและจะจัดอบรมการปั้นดินที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคกในวันที่ 20 สิงหาคม 2565
จากนั้นกระผมได้แจ้งกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบและได้มอบหมายให้กับผู้ปฏิบัติงานถึงหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละบุคคลซึ่งกับผมเองทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับกลุ่มส้มหมูบ้านห้วยศาลาม.1.จากนั้นกระผมได้โทรศัพท์แจ้งให้กลุ่มส้มหมูได้รับทราบว่าจะมีการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ส้มหมูในวันที่ 21 สิงหาคม 2565 ขอเชิญชวนให้กลุ่มสมาชิกทำส้มหมูเข้ารับการอบรมในครั้งนี้
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น. ณศาลาประชาคมบ้านห้วยศาลาหมู่ 1 ได้มีการจัดการอบรมเรื่องพัฒนาผลิตภัณฑ์ส้มหมูมีสมาชิกกลุ่มส้มหมูทั้ง 31 คนและผู้ปฏิบัติงาน 10 คนได้เข้าร่วมอบรมอย่างพร้อมเพียงกันและได้มีวิทยากรด้านอาหารที่เข้าร่วมการอบรมจำนวน 2ท่านและกลุ่มส้มหมูได้สาธิตวิธีการทำส้มหมูให้กับผู้เข้าร่วมการอบรมได้ทราบวิธีและขั้นตอนการทำส้มหมูจากนั้นได้ให้ท่านวิทยากรได้ ลองรับประทานส้มหมูเพื่อให้ได้รับรู้รสชาติ.เพราะส้มหมูที่ผลิตขึ้นมีรสชาติที่อร่อยเพราะใช้เนื้อสันหมูไม่ติดมันใช้กระเทียมและไม่ใช้ผงชูรสในการปรุงรสหลังจากวิทยากรได้รับประทานส้มหมูและได้กล่าวให้คำแนะนำคือให้ใช้เนื้อหมูจากร้านที่มีคุณภาพมีมาตรฐานเน้นย้ำเรื่องความสะอาดสุขอนามัย***ต่อมาได้มีวิทยากรอีกท่านแนะนำให้นำส้มหมูไปแปรรูปจะได้เพิ่มจุดความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคประยุกต์เป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเช่น
1 ส้มหมูห่อใบชะพลูย่าง
2 แซนวิชส้มหมู
3 ยำส้มหมู ข้าวทอด
วิทยากรได้สาธิตการทำแซนวิชส้มหมูให้น้องรับประทานและได้ให้ผู้เข้าร่วมรับการอบรมลองฝึกทำแซนด์วิชส้มหมูจากนั้นได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ของผลิตภัณฑ์ส้มหมูเพื่อไปปรับปรุงและวิเคราะห์ข้อมูลถึงจุดแข็ง คือ วัตถุดิบหาง่าย มีในชุมชน เป็นที่รู้จักในชุมชน จุดอ่อนคือ ด้านบรรจุภัณฑ์ เนื้อหมูราคาสูง
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เวลา 09:00 น. ณพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนองบัวโคกได้มีผู้เข้าร่วมรับการอบรมมี 20 คนรวมทั้งผู้ปฏิบัติงาน 10 คนและมีวิทยากรจำนวน 2 ท่านเมื่อถึงเวลาที่กำหนดได้มีวิทยากรจากร้านดินดิบได้แนะนำตัวเองให้กับผู้เข้าร่วมการรับฟังการอบรมและได้เล่าความเป็นมาถึงปัจจุบันของร้านนิลดิบให้ทุกคนได้ทราบจากนั้นวิทยากรได้ได้แนะนำสถานที่และได้ให้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มนำดินมาให้แต่ละคนได้ทดลองปั้นดินในการปั้นตามจินตนาการของตนเองในระหว่างที่ผู้เข้าร่วมรับการอบรมท่านวิทยากรได้ให้ความรู้เทคนิคที่เข้าใจง่ายในการปั้นดินเมื่อปั้นเสร็จได้นำผลงานของแต่ละคนมาวิเคราะห์ว่าเป็นอย่างไร ควรแก้ไขตรงจุดไหน .ในการจัดการอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยจนถึงเวลาประมาณ 15:00 น.ผู้เข้าร่วมการอบรมเก็บชิ้นงานที่ตนเองปั้นไว้เพื่อรอการเผาและแยกย้ายกันกลับที่พักโดยสวัสดิภาพ
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2565 ได้ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองบัวโคกนะองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคกศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลหนองบัวโคกและกกต.ผู้นำชุมชุนในตำบลหนองบัวโคกหลังจากมีหนังสือเรื่องการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลโดยมีแผนปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
1.การชี้แจงของสำนักงานกกต
2.ศึกษาเรียนรู้ e-learning พลเมืองคุณภาพและทดสอบ
3.ECT week U2Tลงพื้นที่ 5 วันแลกเปลี่ยนความรู้
4. สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน
และทุกคนต่างเข้าใจ
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2565 เวลาประมาณ 09.00 น. กระผมได้เข้าพบนายไพรวัล สำเรียนรัมย์ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองบัวหลวงหมู่ 11 พร้อมทั้งนำข้อมูลเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองคุณภาพโดยพลเมืองคุณภาพ(U2T&ECT)หลังจากเข้าพบมีข้อสรุปได้ดังต่อไปนี้
แบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
1.วัน เวลา สถานที่
วันที่ 1 วันที่ 5 กันยายน 2565 สถานที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองบัวโคก เวลา 09:00-12:00 น.
วันที่ 2 วันที่ 6 กันยายน 2565 สถานที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองตลาดควาย เวลา 09:00-12:00 น.
วันที่ 3 วันที่ 7 กันยายน 2565 สถานที่ ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองบัวหลวง เวลา 09:00-12:00 น.
2.รายชื่อ กรรมการ ส.ปชต.ที่ร่วมให้ข้อมูล
ตอบ 1. นายไพวัล สำเรียนรัมย์ (ผู้ใหญ่บ้านหนองตลาดควาย หมู่ 11)
3.ประเด็นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
3.1 บทบาทหน้าที่ และการดำเนินงานของ ศส.ปชต.รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
ตอบ 1.เป็นศูนย์กลางพัฒนาประชาธิปไตย ส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไต สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง และให้ความรู้เรื่องของประธิปไตย และการเลือกตั้ง
3.2 การดเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างการพูดคุย
ตอบ จากการได้สัมภาษทางผู้นำชุมชนได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรณรงค์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตยและแจ้งจุดประสงค์ขอการออกเสียใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งอีกทั้งจะมีช่องทางในการรณรงค์ซึ่งเป็นแผนงานที่ผู้นำหมู่บ้านได้รับความอนุเคาระห์จากส่วนกลาง กกต.ศส.ปชต.ที่มีจะมีนโยบายเกี่ยวกับการรณรงค์การใช้สิทธิ์ออกเสียง โดยการจะให้เด็กนักเรียนเดินขบวนรณรงค์ประกาศการออกไปใช้สิทธิ์ในการเลือกต้องเพื่อประชาธิปไตย(แต่วันเวลาที่จะดำเนินการยังรอการอนุมัติ)
3.3 การเข้ามีส่วนร่มทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิ์ทุกระดับและลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร และระบุตัวอย่างการพูดคุย
ตอบ ประชาชนมีส่วนร่วมการเมืองทุกระดับ สังเกตได้จากการให้ความร่วมมือในการออกไปใช้สิทธิ์ ยกตัวอย่าง เช่นครอบครัวของนาย นางคำสอน ภูมิพันธ์ และสมาชิกได้แจ้งว่าทุกคนในครอบครัวได้ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบต.ทุกคน
3.4 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกบหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงหรือไม่ระบุตัวอย่างการพูดคุย ตอบ การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกบหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงโดยได้ พูดคุยกับคนในชุมชนเรืองการใช้หลักเศษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างเช่น นายนรชัย สังรัมย์ ท่านได้ใช้หลักเศษฐกิจพอเพียง มีพื้นที่ทำกินไม่มากแต่ผลิตหลากหลายทำเงินได้ตลอดปี
4.ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่
ตอบ ผู้ใหญ่บ้านมีภารกิจต่อเนื่องอาจให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนและขาดการประชาสัมพันธ์ในการดำเนินงาน
5.ข้อเสนอแนะ
ตอบ ควรมีการจัดทำแผนดำเนินในเวลาที่เหมาะสมและขาดการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร
ในการทำงานเข้าพบผู้นำชุมชนในครั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านหนองบัวหลวงหมู่ 11 ได้ให้คำแนะนำความรู้และความร่วมมือในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคกได้มีการจัดอบรมการถ่ายภาพออกแบบโลโก้ด้วยวิทยากรที่มีความรู้ด้านการถ่ายรูปตกแต่งภาพภายในงานได้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ส้มหมูปั้นดินและผู้ปฏิบัติงานของตำบลหนองบัวโคกเข้ารับการอบรมโดยมีนายพัสกรแก้วกล้านายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคกเป็นเกียรติเข้ามาร่วมรับฟังในการจัดการอบรมในครั้งนี้ต่อมาวิทยากรได้สอนเทคนิคในการถ่ายรูปและให้ทุกคนได้ลองถ่ายรูปจากกล้องโทรศัพท์มือถือในการถ่ายรูปมีเนื้อหาสำคัญดังต่อไปนี้
1.ด้าน มุมถ่าย
2. แสง เงา
3. ส่วนประกอบของภาพ
จากนั้นได้ให้ผู้ร่วมเข้าอบรมได้ลองถ่ายภาพจากกล้องโทรศัพท์มือถือโดยใช้เทคนิคจากวิทยากรที่ให้คำแนะนำผลปรากฏว่าทุกคนสามารถเรียนรู้เข้าใจในการอบรมเรื่องการถ่ายภาพ
จนถึงเวลา 13:00 น.ได้มีการออกแบบโลโก้สัญลักษณ์ที่ใช้ติดผลิตภัณฑ์ของตำบลหนองบัวโคกเป็น รูกดอกบัวบาน ข้างล่างเป็นสีฟ้า มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามเรียบง่าย
การอบรมการถ่ายภาพ
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 ได้รับแจ้งจากอาจารย์จินตนาวัชระโพธิกรณ์ว่าจะมีการซ้อมรับปริญญาที่มหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 14-18 กันยายน 2565และภายในงานจะมีการจัดบูธนำเสนอของผลิตภัณฑ์ต่างๆของโครงการ U2T ของแต่ละตำบลเพื่อร่วมจัดบูธนำเสนอในงานด้วยจากนั้นกระผมได้แจ้งกับสมาชิกผู้ปฏิบัติงานให้รับทราบและแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบในการจัดบูธ
ต่อมาวันที่ 14 กันยายน 2565 ได้เข้าไปจัดสถานที่ในการจัดบูธเพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด
ในวันที่ 15 กันยายน 2565 กระผมได้ไปประจำที่บูธเพื่อบริการแนะนำสินค้าผลิตภัณฑ์ ทั้งสองเพื่อเสนอขายให้กับผู้มาเยี่ยมชมบูธของตำบลหนองบัวโคก
และทางกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองบัวโคกได้เปิดเพจจำหน่ายสินค้าของผลิตภัณฑ์ส้มหมูและ workshop ปั้นดินเพื่อนำผลิตภัณฑ์ทั้งสองเข้าสู่ตลาดออนไลน์ในการเปิดเพจในครั้งนี้ได้รับเสียงตอบรับมีการสั่งออเดอร์ของส้มหมูอยู่เรื่อยๆและเป็นที่รู้จักกันให้มากยิ่งขึ้น