ข้าพเจ้า รุ่งตะวัน เสมารัมย์ ประเภทบัณฑิต ตำบลพระครู หลักสูตร HS06-1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)
บทความประจำเดือน กรกฎาคม 2565
ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ได้มีการเข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ผ่านช่อง youtube live ทางมหาวิทยาลัยมีชี้แจงกระบวนการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนธุรกิจของตำบล การลงรายละเอียดในระบบ PBM แจ้งว่าให้ผู้ปฎิบัติงาน 1 ท่านเป็นแอดมินหลักในการดูแลระบบ และทางส่วนกลางแจ้งขั้นตอนของการดำเนินงานที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานลงข้อมูลนระบบและมีการแจ้งวิธีการลงชื่อเข้าปฎิบัติงานผ่านระบบออนไลน์
และในช่วงบ่าย ของวันที่ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ที่ดูแลประจำตำบลได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG โครงการ U2T BCG ผ่านทางไลน์กลุ่ม ว่ามีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ รับผิดชอบตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีโครงการเดิม “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” ได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวการพัฒนาลวดลายผ้าไหม ให้กับกลุ่มทอผ้าไหมทั้ง 3หมู่บ้าน ดังนี้ 1.บ้านชุมทอง 2.บ้านหนองขวางน้อย และ3 บ้านหนองมะค่าแต้
ในวันเสาร์ ที่ 9 กรกฎาคม 2565 ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำตำบลให้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลในการลง C-01 ในระบบ รายละเอียดที่จัดทำขึ้นใน C-01 มี 2ผลิตภัณฑ์ คือ พวงกุญแจจากเศษผ้าไหมและเครื่องประดับจากเศษผ้าไหม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลโครงการ
ส่วนที่ 2 รายละเอียดสินค้าและบริการ
ส่วนที่ 3 รายละเอียดของผลิตภัณฑ์/บริการที่กำลังพัฒนาหรือจำหน่าย
ส่วนที่ 4 การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน
ส่วนที่ 5 การขายและรายได้
ส่วนที่ 6 วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า/บริการ
ส่วนที่ 7 เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ส่วนที่ 8 ทรัพยากรบุคคล
ส่วนที่ 9 กิจกรรม Hackathron
ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย หัวข้อ “การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD”โดยวิทยากร ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต(ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ผ่านLive สด ผ่านเพจ U2T Online Community
ในวันเสาร์ ที่ 16 กรกฎาคม 2565 ได้มีการลงพื้นที่ เพื่อช่วยกันระดมความคิดของสมาชิกผู้ดำเนินการในตำบลพระครู ณ บ้านของ คุณสมร ดีรบรัมย์ ซึ่งเป็น1 ในสมาชิกประเภทประชาชน ได้มีการวางแผนเพื่อจัดทำ แผนธุรกิจ C-02 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนที่ 1 อธิบายแผนธุรกิจของทีม
ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของลูกค้าในธุรกิจที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของท่านคือใคร
ส่วนที่ 3 การสร้างรายได้ของธุรกิจ
ส่วนที่ 4 ช่องทางการจัดจำหน่ายและการบริการ
และเมื่อได้จัดทำแผนธุรกิจเรียบร้อยแล้วจึงได้ให้แอดมินประจำตำบลนำลงเพื่ออัปโหลดลงในระบบส่วนกลาง นอกจากนี้ยังได้มีการสร้างเพจ Facebook ขึ้นมาเพื่อเป็นการโปรโมทสินค้าของตำบล และสร้างช่องทางการขายมากขึ้น โดยมีชื่อเพจ ว่าพระครู แฮนด์เมด – Phrakru Hand Made
และในช่วงบ่ายของวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจกลุ่มทอผ้าและแจ้งรายละเอียดแนวทางในการดำเนินงานแก่ตัวแทนสมาชิกกลุ่มทอผ้า ว่าจะมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าที่มีอยู่แล้วแปรรูปสินค้าให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนชุมชน
จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เป็นอย่างมาก เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และเรียนรู้การอยู่ร่วมกับชุมชน ข้าพเจ้าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานในครั้งนี้ ไปพัฒนาและต่อยอดในอนาคตของข้าพเจ้าให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
คลิปวีดิโอการดำเนินงาน ประจำเดือน กรกฎาคม 2565