การทอเป็นสื่อสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชน แสดงถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ผ้าทอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แก่จนถึงตาย และมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การทอผ้าเริ่มจากการสาน มนุษย์เริ่มสานต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของ และต่อมากลายเป็นเสื่อและตะกร้า และพัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำให้เหนียวขึ้น สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย เช่น ฝ้าย รู้จักวิธีการทออย่างง่าย คือการนำฝ้ายมาผูกกับหินเป็นเส้นยืน และใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้า และเย็บปัก ถ้กร้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ในชุมชนภาคเหนือ ผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม นอกจากบทบาททางการค้า ยังมีการใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ

ดังนั้นการสืบทอดความคิด ความเชื่อ แบบแผนทางสังคม จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ และพัฒนาศักยภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับการพัฒนาเป็นอาชีพและรายได้ของคนชุมชน