ก่องข้าวเหนียวจากเสื่อกกภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน

               

ความเป็นมา

กระติบข้าวเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีมานานคู่ กับวิถีชีวิตคนอีสานจะใช้กระติบข้าวเป็นภาชนะในการใส่ข้าวเหนียวเพื่อเก็บความอุ่น ความนุ่ม ของข้าวให้นานตลอดทั้งวันซึ่งข้าวเป็นอาหารหลักของคนอีสาน กระติบข้าวสามารถพกพานําไปได้ทุกที่โดยเฉพาะเวลาออกนอกบ้านไปทํางานและทําธุระต่างๆ นิยมจะนําข้าวใส่กระติบติดตัวไปด้วยเสมอ ชาวบ้านจะนําวัสดุที่ได้ในหมู่บ้าน เช่น ไม่ไผ่ ไหล ผือ ต้นกก หรือใบเตย มาจักสานเป็น กระติบข้าว โดยได้รับการถ่ายทอดและฝึกฝนการสานกระติบข้าวจาก พ่อแม่ปู่ ย่า ตายาย บรรพบุรุษ ดั้งเดิม ต้นกก ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่มากในหมู่บ้าน มาสานเป็นกระติบข้าว

ขั้นตอนการสานกระติบข้าวจากต้นกก มีวัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้

  1. ต้นกก
  2. เข็ม
  3. มีด
  4. นํ้ำ
  5. เชือกไนล่อน
  6. ไม้ก้านตาล

ขั้นตอนการสาน

  1. ตัดกกที่มีอายุได้ประมาณ 3-4 เดือน ต้น ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไปโดยตัดเอาส่วนที่เป็นต้นปลอม(เพราะไม่เป็นปล้องและข้อ)
  2. ตากเส้นกกให้แห้งใช้เวลาประมาณ 5 วัน (อาจนานวันกว่านี้แล้วแต่แสงแดด)
  3. ผ่ากกเป็นเส้นขนาดแล้วแต่ความพอใจถ้าต้องการความละเอียดสวยงามจะทําเป็นเส้นเล็กๆ
  4. นํากกที่ทําเป็นเส้นประมาณ 10 เส้น รวมกันทําเป็นไส้ในการสาน บิดสัก 5-6 รอบ แล้วขดเป็นวงกลมขนาดเล็กๆ
  5. ร้อยตอกไหลใส่เข็มสอดสานไปเรื่อยจนได้ขนาดความกว้างและความสูงตามต้องการขณะที่สานควรพรมนํ้าบ้างเส้น กกจะเหนียว
  6. เมื่อสานตัวกระติบเสร็จแล้วค่อยสานฝาซึ่งขั้นตอนการสานจะเหมือนกันเพียงแต่ความกว้างให้กว้างกว่าตัวกระติบเล็กน้อย
  7. เมื่อสานเสร็จแล้วทําขากระติบซึ่งใช้ไม้ก้านตาลมาฝ่าเป็นแผ่นบางๆขดเป็นวงกลมขนาดเท่าตัวกระติบเจาะรูใช้เชือกมัดขากับตัวกระติบให้แน่น
  8. ทําสายกระติบโดยใช้เชือกไนล่อนแขวนหรือสะพายเมื่อเสร็จทุกขั้นตอนก็นําออกจําหน่ายได้หรือนําไปใช้ได้เลย

ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว

  1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว
  2. เป็นของชำร่วย
  3. ประดับตกแต่ง
  4. กล่องเอนกประสงค์
  5. กล่องออมสิน
  6. แจกัน
  7. กล่องใส่ดินสอ