ก่องข้าวเหนียวจากเสื่อกกภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน
ความเป็นมา
กระติบข้าวเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีมานานคู่ กับวิถีชีวิตคนอีสานจะใช้กระติบข้าวเป็นภาชนะในการใส่ข้าวเหนียวเพื่อเก็บความอุ่น ความนุ่ม ของข้าวให้นานตลอดทั้งวันซึ่งข้าวเป็นอาหารหลักของคนอีสาน กระติบข้าวสามารถพกพานําไปได้ทุกที่โดยเฉพาะเวลาออกนอกบ้านไปทํางานและทําธุระต่างๆ นิยมจะนําข้าวใส่กระติบติดตัวไปด้วยเสมอ ชาวบ้านจะนําวัสดุที่ได้ในหมู่บ้าน เช่น ไม่ไผ่ ไหล ผือ ต้นกก หรือใบเตย มาจักสานเป็น กระติบข้าว โดยได้รับการถ่ายทอดและฝึกฝนการสานกระติบข้าวจาก พ่อแม่ปู่ ย่า ตายาย บรรพบุรุษ ดั้งเดิม ต้นกก ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่มากในหมู่บ้าน มาสานเป็นกระติบข้าว
ขั้นตอนการสานกระติบข้าวจากต้นกก มีวัสดุอุปกรณ์ มีดังนี้
- ต้นกก
- เข็ม
- มีด
- นํ้ำ
- เชือกไนล่อน
- ไม้ก้านตาล
ขั้นตอนการสาน
- ตัดกกที่มีอายุได้ประมาณ 3-4 เดือน ต้น ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไปโดยตัดเอาส่วนที่เป็นต้นปลอม(เพราะไม่เป็นปล้องและข้อ)
- ตากเส้นกกให้แห้งใช้เวลาประมาณ 5 วัน (อาจนานวันกว่านี้แล้วแต่แสงแดด)
- ผ่ากกเป็นเส้นขนาดแล้วแต่ความพอใจถ้าต้องการความละเอียดสวยงามจะทําเป็นเส้นเล็กๆ
- นํากกที่ทําเป็นเส้นประมาณ 10 เส้น รวมกันทําเป็นไส้ในการสาน บิดสัก 5-6 รอบ แล้วขดเป็นวงกลมขนาดเล็กๆ
- ร้อยตอกไหลใส่เข็มสอดสานไปเรื่อยจนได้ขนาดความกว้างและความสูงตามต้องการขณะที่สานควรพรมนํ้าบ้างเส้น กกจะเหนียว
- เมื่อสานตัวกระติบเสร็จแล้วค่อยสานฝาซึ่งขั้นตอนการสานจะเหมือนกันเพียงแต่ความกว้างให้กว้างกว่าตัวกระติบเล็กน้อย
- เมื่อสานเสร็จแล้วทําขากระติบซึ่งใช้ไม้ก้านตาลมาฝ่าเป็นแผ่นบางๆขดเป็นวงกลมขนาดเท่าตัวกระติบเจาะรูใช้เชือกมัดขากับตัวกระติบให้แน่น
- ทําสายกระติบโดยใช้เชือกไนล่อนแขวนหรือสะพายเมื่อเสร็จทุกขั้นตอนก็นําออกจําหน่ายได้หรือนําไปใช้ได้เลย
ประโยชน์ที่ได้จากกระติบข้าว
- ใช้บรรจุข้าวเหนียว
- เป็นของชำร่วย
- ประดับตกแต่ง
- กล่องเอนกประสงค์
- กล่องออมสิน
- แจกัน
- กล่องใส่ดินสอ