รายงานการปฏิบัติงาน ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565

ข้าพเจ้า นางสาวมินตรา เรืองคง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประจำตำบลบุโพธิ์อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2565 ได้ปฐมนิเทศออนไลน์กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG เพื่อรับฟังคำชี้แจงในการปฏิบัติงาน ต่อมาได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภายในตำบลบุโพธิ์ พบว่า มีผลิตภัณฑ์ประจำตำบล คือ กระเป๋าผ้าไหม ของบ้านนาศรีนวล และโคเนื้อของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเจ้าหัวและบ้านบุผู้หญิง ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่าง ต่างก็มีทรัพยากรที่สามารถนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าต่อได้ นั่นคือ เศษผ้าที่เหลือจากการตัดชุดผ้าไหม และมูลวัวที่เหลือจากการทำปศุสัตว์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจ BCG ทางทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบล จึงได้ลงความเห็นร่วมกันว่า  จะพัฒนาภัณฑ์จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย

1.การเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปผ้าไหม โดยกลุ่มวิสาหกิจบ้านนาศรีนวล เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา คือ พวงกุญแจกระเป๋าอเนกประสงค์ ที่ทำมาจากเศษผ้าไหม เหมาะสำหรับใช้ใส่เศษเหรียญ, ธนบัตร, โทรศัพท์ รวมไปถึงการให้เป็นของชำร่วยแก่แขกที่มาร่วมงานบุญต่างๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้คือ ลดปริมาณขยะเศษผ้า และกลุ่มวิสาหกิจมีรายเพิ่มจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์

2.การเพิ่มมูลค่าจากการเเปรรูปมูลวัว โดยกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเจ้าหัวและบ้านบุผู้หญิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมูลวัว ที่ภายในมีองค์ประกอบของแร่ธาตุสำคัญได้แก่ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา คือ มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด โดยน้ำหมักที่ใช้ประกอบด้วย จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีคุณสมบัติในการช่วยย่อยสลายมูลวัว ทำให้พืชดูดซึมแร่ธาตุได้ดีขึ้น, ผลผลิตทางเกษตรที่ได้ไม่มีสารเคมีตกค้าง และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมีอีกด้วย ซึ่งเตรียมได้จากการเพาะจุลินทรีย์จากแหล่งน้ำตามธรรมชาติด้วยไข่ไก่ ที่มีองค์ประกอบของโปรตีน และลดปัญหาเชื้อรา ด้วยการเติมไตรโคเดอร์มาลงไป ซึ่งเตรียมได้จากการเพาะเชื้อด้วยข้าวในถุง ที่แสงสามารถส่องผ่านได้ จากนั้นเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาด้วยการเติมกากน้ำตาลลงไปเป็นลำดับสุดท้าย

จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่าง ต่างก็แปรรูปจากทรัพยากรที่มีอยู่แล้วภายในท้องถิ่น ทำให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในตำบล นอกจากนี้ ทีมผู้ปฏิบัติงานยังได้เข้าอบรบในระบบ E-learning วิชาแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG, คิดเชิงออกแบบ Design thinking, โมเดลธุรกิจ Business Model Canvas และเร่งการเติบโต (Growth Hacking) เพื่อเพิ่มทักษะความเป็นผู้ประกอบการ แล้วนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการวางแผนธุรกิจ เพื่อต่อยอดการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนของชาวบ้านในอนาคตอีกด้วย

ภาพประกอบการลงพื้นที่ เดือนกรกฎาคม

วิดีโอประกอบ