โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG)

บทความประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565

             ข้าพเจ้า นางสาวมินตรา เรืองคง ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประจำตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

แผนงานเดือนสิงหาคมนี้ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล Thailand Community Data (TCD) ภายในตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบล ให้สอดคล้องกับเขตระเบียงเศรษฐกิจ BCG ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูล TCD ของหมู่บ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4

จากการลงพื้นที่ พบว่า มีเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรจำนวน 50 คน แบ่งเป็นการทำเกษตรประเภทนาข้าว และเกษตรประเภทไร่ ได้แก่ การปลูกไร่อ้อย และ ไร่มันสำปะหลัง เป็นต้น มีการแบ่งพื้นที่สำหรับการทำปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ และ สุกร พืชที่สามารถพบได้ทั่วไปในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นกล้วย ต้นตะไคร้ ต้นชะพู ต้นขิง ต้นมะพร้าว และ ต้นหม่อน นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 โครงการ ตามแผนการที่ได้กำหนดไว้ โดยสามารถรายงานผลการดำเนินงานได้ดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ร่วมกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านหนองเจ้าหัว เพื่อนำมูลวัวที่ผ่านการหมักจุลินทรีย์แล้ว 30 วัน ไปเข้าสู่กระบวนการอัดเม็ด แล้วนำไปตากให้แห้ง ก่อนบรรจุลงในถุงแก้วใส แล้วซีลปิดปากถุงให้สนิท พร้อมกับติดตราสินค้าไว้บนบรรจุภัณฑ์ จากนั้นทำการถ่ายรูปสินค้า เพื่อเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ Facebook Fan Page เเละ Tiktok รวมไปถึงการจำหน่ายในรูปแบบออฟไลน์ นั่นคือ วางขาย ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองเจ้าหัว และมีการทดลองนำมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด ไปใช้ในการบำรุงต้นพืช เช่น ต้นหอม ต้นมะกรูด และ ต้นกะเพรา เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อีกด้วย
  2. ผลิตภัณฑ์พวงกุญแจกระเป๋าอเนกประสงค์ ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ บ้านนาศรีนวล เพื่อทำการยืนยันรูปแบบกระเป๋า พร้อมกับคัดเลือกเศษผ้าไหม และลักษณะพวงกุญแจที่ต้องการ ให้กับช่างเย็บกระเป๋า ต่อมาได้เลือกหาบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษที่เหมาะสำหรับการให้เป็นของชำร่วย และออกแบบตราสินค้าให้มีความ โดดเด่น น่าสนใจ เพื่อสามารถใช้ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ระหว่างรอขั้นตอนการผลิต ทีมผู้ปฏิบัติงานได้สร้างช่องทางจำหน่ายในแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Instagram, twitter และ Tiktok เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการ และเปิดรับพรีออเดอร์ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจในกระเป๋าผ้าไหม

รูปภาพประกอบการลงพื้นที่

วิดีโอประกอบการลงพื้นที่