ณิชาภา  ยายิรัมย์

           ไอศกรีมนางฟ้า ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นการนำเอาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาพัฒนาแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ตามโมเดลของ BCG

BCG ย่อมาจาก  Bio-Circular- Green Economy หมายถึง  เศรษฐกิจชีวภาพ  เศรษฐกิจหมุนเวียน  เศรษฐกิจสีเขียว สามารถอธิบายได้ดังนี้

B : Bioeconomy (เศรษฐกิจชีวภาพ) : เป็นการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยยกระดับการแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าสูง

C: Circular Economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน) : เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในชุมชนคือเห็ดนางฟ้าและมะพร้าวสดในท้องถิ่น

G: Green Economy (เศรษฐกิจสีเขียว) : เน้นการใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่เน้นการส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม

จากที่กล่าวมาไอศกรีมเห็ดนางฟ้า เป็นการนำเอาวัตถุดิบในชุมชน นั่นก็คือเห็ดนางฟ้า ที่คนในพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายจึงได้นำมาพัฒนาแปรรูปเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มโดยการนำเอาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยมาเป็นการพัฒนาและยกระดับเห็ดนางฟ้าให้มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ตลอดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีการลดภาวะโลกร้อนเพื่อให้ได้ผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยขั้นตอนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเห็ดนางฟ้า ได้ดังภาพที่ 1

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดข้อจำกัดของโครงการ
ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์ (Product Idea Generation)
ขั้นตอนที่ 4 การคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Idea  Screening)
ขั้นตอนที่ 5 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด (Business Analysis)
ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาแนวความคิด (Product Concept)
ขั้นตอนที่ 7 การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype Product)
ขั้นตอนที่ 8 การพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสม (Process Development)
ขั้นตอนที่ 9 การทดสอบผลิตภัณฑ์ (Product Testing)
ขั้นตอนที่ 10 การวางแผนการตลาด (Product Management)
ขั้นตอนที่ 11 การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ (Commercialization)

จากภาพที่ 1 กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเห็ดนางฟ้า สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่มีส่วนผสมจากเห็ดนางฟ้า และมีส่วนผสมเสริมจากธัญพืช เช่น รสเผือก  รสกะทิ แก้วมังกร หรือผลไม้ตามฤดูกาลที่มีตามท้องถิ่น เป็นต้น เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคในทุกเพศทุกวัยหรือผู้ที่รักสุขภาพ

  1. ข้อจำกัดของโครงการ

2.1 ข้อจำกัดด้านผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ผู้บริโภคอาจจะยังไม่ชินในรสชาติ

2.2 ข้อจำกัดด้านกระบวนการแปรรูปเนื้อครีมไอศกรีม

2.3 ข้อจำกัดด้านการตลาด รสชาติความนิยมของผู้บริโภค

2.4 ข้อจำกัดด้านการเงิน งบประมาณที่ใช้ในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการพัฒนา

  1. การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์

           การนำเห็ดนางฟ้าที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเพื่อให้เกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ โดยการทำไอศกรีมเห็ดนางฟ้า ที่มีรสชาติที่หลากหลาย เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค

  1. การคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์

          การใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน

  1. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในทางด้านการตลาด

           เป็นไอศกรีมที่มีรสชาติแปลกใหม่ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

  1. การพัฒนาแนวความคิด

           นำวัตถุดิบของเห็ดนางฟ้ามาต่อยอดโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ โดยเลือกต้นทุนในการผลิตที่ต่ำสุด

  1. การสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

7.1 การนำเห็ดนางฟ้า มาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และปั่นรวมกับหางกะทิ

           7.2 เทใส่หม้อ ตั้งไฟหมั่นคน (อย่าให้เดือด) เติมหัวกระทิ น้ำตาลทรายขาว ครีมเทียมข้นหวาน ครีมเทียมพร่องไขมัน เกลือป่น ตามอัตราส่วน คนจนส่วนผสมเข้ากันดี

           7.3 ผสมแป้งมันกับน้ำ 0.5 ถ้วยตวง คนจนแป้งละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

           7.4 เทใส่หม้อ คนจนแป้งสุกและเข้ากันดี ทิ้งไว้ให้เย็น

          7.5 นำมาปั่นในเครื่องปั่นไอศกรีม ประมาณ 20 นาที แล้วนำไปแช่ในถังพร้อมจำหน่าย

  1.  การพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสม

            ควบคุมต้นทุนการผลิตและกระบวนการผลิตให้มาตรฐาน

  1. การทดสอบผลิตภัณฑ์

           นำไอศกรีมเห็ดนางฟ้า ไปให้ผู้บริโภคได้ทดสอบรสชาติ เพื่อศึกษารสชาติและความชอบ ตลอดจนนำข้อมูลหรือปัญหาที่พบมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนนำไปจัดจำหน่าย

  1. การวางแผนการตลาด

           หลังจากนำผลิตภัณฑ์ไอศกรีมเห็ดนางฟ้าต้นแบบไปให้ผู้บริโภคได้ทดสอบผลิตภัณฑ์นำมาพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้บริโภค ทำการวางแผนการตลาด เนื่องจากเห็ดไอศกรีมเห็ดนางฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ถือเป็นช่วงวงจรผลิตภัณฑ์แนะนำ จึงต้องทำการตลาดทุกรูปแบบทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้ครอบคลุมตามงบประมาณการตลาด เช่น การทำการตลาดออนไลน์ผ่านสื่อโซเซียลทุกรูปแบบทั้ง Line , Facebook เป็นต้น การเข้าร่วมตามบูทแสดงสินค้าตามพื้นที่ในจังหวัดบุรีรัมย์ที่ทางหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจัดกิจกรรมภายในจังหวัดบุรีรัมย์

  1. การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

สร้างร้านไอศกรีมในพื้นที่ตำบลเมืองโพธิ์เป็นสถานที่ในการผลิตและจัดจำหน่ายไอศกรีม โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ด้วย

 

วิดีโอประจำเดือนกรกฎาคม 2565 

;