โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด
ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
นางสาวพันพิสา พันโยศรี บัณฑิตจบใหม่ AG08-2

การมัดหมี่

การมัดหมี่ เป็นการทำลวดลายบนผืนผ้า โดยการใช้วัสดุกันน้ำมัดกลุ่มเส้นไหมเป็นลวดลายตามต้องการ ก่อนนำเส้นไหมไปย้อมน้ำสี เมื่อแกะหรือแก้วัสดุกันน้ำออก จะเกิดสีแตกต่างกัน ถ้าต้องการเพียง 2 สี จะแก้มัดเส้นไหมเพียงครั้งเดียว หากต้องการหลายสีจะมีการแก้วัสดุหลายครั้ง

เครื่องมือที่ใช้ในการมัดหมี่ คือ กรรไกร หรือมีดบางเล็ก ๆ ใบมีดโกนชนิดมีด้าม เชือกฟาง (เมื่อก่อนใช้กาบกล้วยแห้ง) โฮงหมี่ และแบบลายหมี่

 

ขั้นตอนการมัดหมี่

1. เอาปอยหมี่ที่ค้นเสร็จแล้วใส่ “หลักหมี่หรือโฮงหมี่”
2. การเริ่มต้นมัดลายหมี่ อาจมัดจากด้านบนไล่เรียงลงข้างล่างหรือมัดข้างล่างไล่เรียงขึ้นข้างบน บางคนอาจจะเริ่มมัดจากตรงกลางก่อนจึงขยายออกไปเต็มหลักหมี่
3. เริ่มมัดปลายเชือกด้านหนึ่งกับลำหมี่ก่อน จึงพันอีกปลายหนึ่งซ้อนทับให้แน่นเพื่อไม่ให้สีย้อมซึมเข้าข้อหมี่ เมื่อพันทับกันไปจนได้ความยาวตามแนวลายหมี่แล้ว มัดปลายเชือกกับลูกหมี่ให้แน่นเช่นกันโดยเหลือปลายเชือกไว้ เมื่อเวลาแก้มัดเชือกจะทำได้ง่าย
4. เอาเชือกเส้นหนึ่งสอดเข้าไปในช่องหลักหมี่ข้างใดข้างหนึ่ง ผูกกลุ่มเส้นไหมไว้เป็นวงไม่ให้หมี่ที่มัดลวดลายแล้วหลุดออกจากกัน และใช้เป็นหูหิ้วสำหรับจับเวลาย้อม จากนั้นจึงถอดเส้นไหมมัดหมี่ออกจากหลักหมี่ แล้วนำไปย้อมสีตามต้องการ

อย่างไรก็ตามขั้นตอนการมัดหมี่นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอนการทำผ้าไหม เพื่อให้ได้เห็นการทำผ้าไหมลายมัดหมี่ ภูมิปัญญา เอกลักษณ์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน