นางราตรี อ่อนพันธุ์ เป็นผู้รับจ้างประเภทประชาชน ประจำตำบลสระแก้ว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่นเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG(U2T for BCG) ซึ่งได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้ช่วยศาสรตราจารย์สำคัญ ฮ่อบรรทัด(หัวหน้าโครงการ)และผู้ช่วยศาสตราจารยธัญพรรณ ฮ่อบรรทัด ดังนี้
การผลิตผ้าไหมทอมือของตำบลสระแก้วนั้นมีลวดลายที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ลายหงส์ ลายหอมแดง ลายดอกบัว ลายใบหม่อน และลายอื่นๆที่ได้แลกเปลี่ยนถ่ายทอดจากอำเภอไกล้เคียงอีกมายมาย การรังสรรค์ลวดลายเกิดขึ้นจากการมัดย้อมเส้นไหม ให้เกิดสีสันและลวดลายต่าง ๆ ก่อนที่จะนำมาทอเป็นผืนผ้า ลวดลายหลากสีสันเหล่านี้ได้มาจากการย้อมด้วยสีธรรมชาติ จากวัสดุในท้องถิ่น เช่น ครั่ง แก่นฝาง แก่นยอ แก่นคูณ แก่นขาม ใบอ้อย ใบหูกวาง เปลือกหอมแดง เปลือกเพกา เป็นต้น เทคนิคในการย้อม เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบโบราณที่สืบทอดมายังรุ่นสู่รุ่นยาวนานหลายร้อยปี ซึ่งสีธรรมชาติที่ใช้ย้อมผ้าไหมทอมือของชาวบ้านนิยมหลัก ๆ มี 3 สี ได้แก่ “สีแดง” “สีเหลือง” และ “สีเขียว”
ขั้นตอนการทำผ้าไหมทอมือนั้น เริ่มจากการนำเส้นไหมจากการสาวไหมมาทำการล้างเสียก่อน เพื่อทำให้เส้นไหมสะอาดและย้อมติดสีง่ายขึ้น แล้วนำมาค้นไหม เพื่อให้เส้นไหมในแต่ละลำมัดที่จะมัดลาย มีจำนวนเส้นเท่ากันและไม่พันกันหลัง จากนั้นนำมาขึ้นลายที่ต้องการ โดยมัดด้วยเชือกฟาง
เมื่อมัดหมี่เสร็จแล้ว ค่อยนำไปย้อมสี ก่อนที่จะย้อมไหมด้วยสีธรรมชาตินั้นชาวบ้านได้ให้ความรู้ว่า เราจะต้องนำเส้นไหมไปแช่น้ำก่อนสัก 10-15 นาที บิดพอหมาด แล้วค่อยนำไปย้อม จะทำให้ไหมกินสีดีขึ้น ขณะที่ย้อมก็ต้องหมั่นคน หมั่นกลับไหมเพื่อไหมจะได้กินสีทั่วถึงสม่ำเสมอ การเตรียมวัสดุย้อมสี ให้นำวัตถุดิบธรรมชาติมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืนในกรณีที่เป็นสีจากแก่นไม้ แต่ถ้าเป็นใบไม้ให้นำมาต้มในน้ำไฟกลาง ที่ก่อด้วยฟืน หรือเตาถ่านได้เลย ค่อยๆเคี่ยวส่วนผสมไปเรื่อยๆให้สีของเปลือกไม้ออกดีเสียก่อน เมื่อสีออกดีแล้วเติมสารส้มหรือสารจับสีอื่นๆแล้วแต่ชนิดของวัตถุดิบและสีที่ต้องการ ก่อนจะเอาเส้นไหมลงย้อม หลังจากนั้นนำมาผึ่งลมหรือตากแดดให้แห้ง แล้วค่อยเอาปอยไหมไปกรอเข้าหลอดอีกที ก่อนนำมาทอเป็นผืนผ้ามัดหมี่
จากการลงพื้นที่ในรอบที่ 2 เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของกลุ่มชาวบ้าน ทางสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สำคัญ ฮ่อบรรทัด นักศึกษาและชาวบ้านได้ปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อทราบปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา เรื่อง “การทำผลิตภัณฑ์และการจัดจำหน่ายผ้าไหม” พบว่าชาวบ้านประสบปัญหาเรื่องการตลาด และผลิตภัณน์ ที่มีลวดลายแบบดั้งเดิมเกินไปไม่ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของตลาดและการใช้งาน ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงได้มีแผนการส่งเสริมการตลาดและพัฒนาลวดลายให้โมเดิร์นขึ้น ทันสมัยมากขึ้นเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายในปัจจุบัน ด้วยการทำมาตรฐานแบรนด์สิ้นค้าผ้าไหมทอมือ ต.สระแก้วให้มีมาตรฐานตามความต้องการของตลาด แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตำบลสระแก้ว ทั้งยังจัดทำบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ สวยงาม และเข้าถึงกับทุกเพศทุกวัย สร้างเพจ เฟชบุ๊คโฆษณาผ้าไหมให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพิ่มช่องทางการขายแบบออนไลน์
อีกทั้งการนำผ้าไหมทอมือมาแปรรูปสินค้าให้มีความหลากหลาย เช่น ชุดผ้าไทย เครื่องนุงห่ม ผ้าพันคอ
กระเป๋าถือ คีย์โคฟเวอร์ ปลอกหมอน กระเป๋าใส่เหรียญ ซองโทรศัพท์ เป็นต้น
จากการส่งเสริมและช่วยเหลือให้ชาวบ้านมีรายได้จากการทอผ้าไหม ทำให้ชาวบ้านมีความสุข กับสิ่งที่รัก ได้สืบทอดการทอผ้าจากบรรพบุรุษสู่คนรุ่นหลัง ได้สืบสาน อนุรักษ์ ศิลปะ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไป