โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG)
ชื่อบทความ : การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า ชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565
หลักสูตร : MS09-1 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้าเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวศิรัสยาภรณ์ โรมรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่
อาจารย์ประจำโครงการ : หัวหน้าโครงการ อาจารย์จงกล ศิริประภา
อาจารย์ประจำโครงการ ดร.อรุณรัศมี แสงศิลา
อาจารย์ประจำโครงการ อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร
การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 มีดังนี้
ข้าพเจ้านางสาวศิรัสยาภรณ์ โรมรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้รับหน้าที่ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG ประจำตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี อาจารย์จงกล ศิริประภา เป็นหัวหน้าโครงการ และอาจารย์ประจำโครงการประกอบด้วย อาจารย์ ดร.อรุณรัศมี แสงศิลา และอาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร
รายละเอียดการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 มีดังต่อไปนี้
1.1 การลงพื้นที่คัดเลือกกล้วยเพื่อนำมาแปรรูป
ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งอาจารย์จงกล ศิริประภา หัวหน้าโครงการ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ ณ สวนของลุง ไพร บ้านพลวง หมู่ที่ 16 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำการคัดเลือกต้นกล้วยน้ำว้า และตัดต้นกล้วยต้นนั้นลงมาเพื่อนำผลของกล้วยที่ใกล้สุกมาพักไว้ การตรวจสอบกล้วยที่ใกล้สุกหรือได้ที่แล้ว ให้ดูจากสีของกล้วยและลักษณะของกล้วยที่เหลี่ยมผลจะดูเล็กลง จะดูเป็นกลมๆมากขึ้นถ้าได้ที่แล้ว จึงนำไปแปรรูปต่อไป
1.2 นำวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นกล้วยสติ๊กและคุกกี้
หลังจากที่เราได้ไปคัดเลือกผลิตภัณฑ์ ( ผลกล้วย ) นำผลกล้วยที่สุกได้ที่แล้วมาผลิตเป็นกล้วยสติ๊กและคุกกี้ต่อไป
1.3 หน้าที่และประโยชน์ที่ได้รับ
ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่ ให้เก็บภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำมาใช้ประกอบการทำรายงานของเดือนที่สองนี้ ได้ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานไปคัดเลือกกล้วยที่สวน และร่วมช่วยในกระบวนการผลิตกล้วยต่างๆ หลังจากที่ได้ทำงานในเดือนสิงหาคมนี้ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น ได้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมมากขึ้น ได้เห็นว่าสมาชิกทุกคนในทีม มีความรับผิดชอบในแต่ละหน้าที่ของตนเอง การให้ความร่วมมือของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านคนในชุมชนและผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลทุกท่าน ทำให้งานภายในเดือนที่สองออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าประสบการณ์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้าและสมาชิกในทีมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำความรู้ ความสามารถสิ่งที่ได้ปฏิบัติงานในเดือนนี้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและชุมชนต่อไปได้
1.4 วิดีโอการปฏิบัติงาน