เรื่อง การลงพื้นที่ปฏิบัติงานและแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีดกริชและมีดสะนาก

ข้าพเจ้านางสาวนภัสนันท์  ลาศรี ประเภทบัณฑิตจบใหม่   ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) MS 23-2 ตำบลศรีภูมิ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

การลงพื้นที่

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนด้านสภาพแวดล้อม ด้านภูมิทัศน์ต่างๆในชุมชน จึงมีการปรึกษาหารือกับชุมชนร่วมกับผู้นำและคนในชุมชน ทำให้ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทราบข้อมูลในด้านต่างๆของพื้นที่ชุมชน รวมถึงความต้องการและแนวทางในการพัฒนาคนชุมชนที่จะสามารถช่วยยกระดับชุมชนให้เกิดรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

ซึ่งในการลงพื้นที่นั้น พบว่า ชาวบ้าน หมู่ 7บ้านติม ต.ศรีภูมิ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ กว่า 40  ได้หาซื้อเศษเหล็กจากร้านรับซื้อของเก่า รวมถึงจอบ เสียม และผานไถที่ไม่ใช้แล้ว มาประยุกต์ตีเป็น “มีดสะนาก” ที่ผู้สูงอายุนิยมใช้สำหรับตัดหมาก และบางคนนิยมใช้ในการประกอบพิธีมงคลต่างๆ ตามความเชื่อ โดยการทำมีดสะนากของชาวบ้านติม จะเน้นภูมิปัญญาที่ได้รับสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยจะไม่มีการใช้เครื่องทุ่นแรง แต่จะใช้เพียงฝีมือจากแรงคนเท่านั้น โดยขั้นตอนการตีมีดสะนากเริ่มจากตัดเหล็กให้ได้ขนาดที่ต้องการ ก่อนนำไปเผาไฟในเตาถ่าน แล้วตีขึ้นรูป จนเป็นรูปทรงมีดสะนาก จากนั้นนำไปเจียส่วนที่ขรุขระออกแล้วตะไบด้วยมือ เสร็จแล้วสลักลวดลายเพิ่มความสวยงาม แล้วนำเฉพาะใบมีดไปชุบเผาแข็งอีกรอบ ขั้นตอนสุดท้ายลับให้คมใส่สลักหู และทาน้ำมันกันสนิม ก็จะได้มีดสะนากที่ทำจากภูมิปัญญาและแรงงานคน แต่ละคนจะสามารถตีมีสะนากได้ 10 เล่มต่อวัน

ส่วนมีดกริชนั้น เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง  ตัวกริชหรีอส่วนใบมีดนั้น มักจะเรียว และคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไป ไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่างๆ กัน จะตีใบมีดเป็นชั้นๆ ด้วยโลหะต่างๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปีๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบๆ หรือร้อยๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือกและมีดกริชต้องใช้ทักษะ ความชำนาญ ประณีต มีสมาธิ และอดทน เพราะทุกขั้นตอนล้วนทำด้วยแรงคนไม่มีเครื่องทุ่นแรง หากพลาดอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่งการตีมีดสะนากและมีดกริชนอกจากจะสร้างรายได้เสริมช่วงว่างเว้นจากการทำนาแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงไว้อีกด้วย เพราะนับวันก็เริ่มจะเลือนหายไป ชาวบ้านติมได้อนุรักษ์การตีเหล็กแบบภูมิปัญญามาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตายายกว่า 100 ปีแล้ว สำหรับวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตีเหล็ก ส่วนมากจะนำข ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียว ทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน

 

การลงพื้นที่ในครั้งนี้จะเห็นได้ว่านอกจากการทำมีดกริชและมีดสะนากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านช่วงว่างเว้นจากการทำนาแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาการตีเหล็กของบรรพบุรุษ ซึ่งหากไม่อนุรักษ์ไว้ก็อาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลา การทำมีดสะนาองเก่าที่ไม่ใช้แล้ว เช่น เศษเหล็ก จอบ เสียม และผานไถ มาประยุกต์ตีเป็นมีดสะนากก็เป็นการลดต้นทุน   และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี  ซึ่งเดิมมีรายได้จากการทำนาเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันมีดสะนากของบ้านติมก็ยังเป็นสินค้าโอท็อปที่ขึ้นชื่อของ อ.กระสัง อีกด้วย ซึ่งในแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางทีมงานจะมีการร่วมประชุมกับชาวบ้านเพื่อปรึกษาหารือและวางแผนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป