เรื่อง ผ้าก่วย
ข้าพเจ้านางสาวจุฑามาศ คะรัมย์ ประเภทบัณฑิต
SC09-2 ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ผ้าก่วย หรือซิ่นก่วย เป็นผ้าของชุมชนสวายสอที่มีลักษณะการทอไขว้กันไปมา ตัวผ้าสีน้ำเงินเข้ม ตีนสีแดงสลับริ้วลายสีชมพู สีขาวและสีเหลือง ใช้สวมใส่ในงานมงคล ประเพณีที่สำคัญในชุมชน และรับแขกบ้านแขกเรือน
ความหมายของสี
❤️สีแดง ความเข้มแข็งของหัวใจ ใครได้สวมใส่ผ้านี้จะโชคดี มีฐานะเเละสวยงามสะดุดตา
💗สีชมพู ความอ่อนหวานสวยงามสะดุดตาของผู้หญิงที่สวมใส่
💙น้ำเงินเข้ม ความอดทน (ชาวนาเลือกใช้สีนี้เพราะทำให้ไม่เปื้อนง่ายจากการทำเกษตร)
🤍สีขาว ความบริสุทธิ์ของชาวนาผู้รักในอาชีพของตนเอง
💛สีเหลือง ความอุดมสมบูรณ์ เหมือนทุ่งนาช่วงข้าวออกรวงเหลืองอร่าม
ลักษณะของผ้าก่วย ตัวซิ่นและหัวซิ่น จะมีพื้นสีน้ำเงิน ตัวตีนซิ่น จะมีพื้นเป็นสีแดง
โดยผ้าก่วยนี้เกิดจากภูมิปัญญาของคนในชุมชน เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีการสลับสีลายริ้วเล็กใหญ่ นิยมใช้ในงานรับเเขกบ้านเเขกเรือน รวมถึงการแสดงพื้นบ้านอย่าง รำนกกระเรียน รำเซิ้งเเละรำกลอน โดยผู้ที่มาเยี่ยมชมสามารถเข้ามาดูกระบวนการทอผ้าได้ตั้งแต่ การปั่นด้ายจากตัวไหม การย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติจนถึงวิธีการถักทอ นอกจากนี้ยังสามารถทดลองลงมือทำเองได้อีกด้วย
ถือได้ว่าเป็นผ้าที่เปี่ยมไปด้วยวิถีชีวิตเเละวัฒนธรรมของคนในชุมชน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผ้าที่มีลวดลายเเละสีที่งดงาม มากไปกว่านั้น ยังเป็นผ้าที่เเฝงไปด้วย ความทุ่มเท ความเอาใจใส่ ที่เหล่าเเม่ๆในชุมชนได้ถักทอลงไปในผ้า ผ้าที่รอให้ทุกคนเข้ามาทำความรู้จักให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
นอกจากที่จะทำเป็นผ้าถุงแล้ว ยังตัดเป็นชุดให้กับนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสะอาด จัดทำเป็นกระเป๋าน่ารักๆในหลายๆรูปแบบอีกด้วย