นางสาวอังคณา ขวัญศิวิไลย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ MS03-1 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร วิชัยรัมย์
วันที่ 3 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฎิบัติงานได้ลงพื้นที่ บ้านบุ หมู่ 11 ได้มอบลายผ้าไหมลายอัตลักษณ์ผการันดูลให้กับชาวบ้านชุมชนบ้านลำดวน โดยมีการออกแบบลายทั้งหมด 5 ลาย แล้วได้นำไปมอบให้ชาวบ้านทอเสร็จเรียบร้อยทั้งหมด 5 ลาย จากนั้น ทีม U2Tตำบลลำดวน ร่วมกับชาวบ้านในการตั้งชื่อลายผ้าไหมลายอัตลักษณ์ ตามลักษณะเด่นของผ้าไหมแต่ละผืน ดังนี้
- ลายสามัคคีลำดวน
- ลายผการันดูล
- ลายกลีบดอกลำดวน
- ลายระย้าลำดวน
- ผ้าไหมพันคอ ลายตะขอลำดวน
วันที่ 5-9 กันยายน 2565 สัปดาห์ ECT WEEK ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 8 คน เข้าพบคณะกรรมการ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.) ณ ที่ทำการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนและมีการระดมความคิดร่วมกับชาวบ้านเรื่องประชาธิปไตย ลักษณะผู้นำที่ชาวบ้านต้องการ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นการลงเก็บข้อมูล
- บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
- การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร
ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย - การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของ
ผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย - การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
รายงานสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
1. รายชื่อกรรมการ ศส.ปชต.ที่ร่วมให้ข้อมูล
- นายนราธร อะพินรัมย์
- นายวุฒิพงศ์ ทะเรรัมย์
- นางอมรรัตน์ รสหอม
- นายชนะชัย เชยรัมย์
- นางสาวพิชญาภัค พนิรัมย์
- นายไกรวุฒิ ยาวิรัมย์
2. ประเด็นที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
2.1 บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถังการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
ศส.ปชต. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาประชาธิปไตย ทำกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยในตำบล หมู่บ้าน ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง ปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชน เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของสังคมและส่วนรวม รวมถึงพัฒนาต่อยอดการขยายเครือข่ายพลเมืองในการปฏิบัติงานในชุมชน เพื่อเข้าถึงทุกพื้นที่ และสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง โดยการรณรงค์ป้องกันการทุจริตซื้อสิทธิขายเสียง ต่อต้านพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ
2.2 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย โดยมีการจัดกิจกรรม ผู้นำชุมชนมีการจัดทำนโยบายต่างๆในชุมชน มีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม โดยเปิดกว้างให้ชาวบ้านได้ปรึกษาหารือ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งเสนอแนะปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา หรือความต้องการของชาวบ้านใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ยึดหลักเสียงข้างมากและรับฟังเสียงข้างน้อย โดยใช้วิธีการแบบประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกัน เคารพสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งกันและกัน เคารพกฎ กติกาของสังคม ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ชุมชนมีการประชุมประชาคมเป็นประจำ โดยผู้นำชุมชนจัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของชาวบ้าน ให้ชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกัน ร่วมคิด และร่วมทำด้วยกัน มีการทำมติประชาคมร่วมกัน ทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาชุมชน มีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การทำมติประชาคม เรื่องเสนอปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา และความต้องการในหมู่บ้าน จากนั้นได้ร่วมกันเสนอปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบ จากนั้นปรึกษาหารือ ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน เป็นต้น
2.3 การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
ชุมชนมีส่วนร่วมในการเมืองในทุกระดับ สังเกตได้จากการให้ความร่วมมือในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น กลุ่มครอบครัว หมู่ 7 บ้านกระเจา ได้แจ้งว่า การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านที่ผ่านมานั้น ได้มีการไปสิทธิ์กันทั้งครอบครัว
ลักษณะผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการ คือ มีภาวะผู้นำ เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความเสียสละต่อส่วนรวม เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก มีความโปร่งใส วิสัยทัศน์เปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีสามารถยกระดับชุมชนให้มีคุณภาพการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2.4 การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย
การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยชุมชนตำบล ได้ให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มีการทำเกษตรในครัวเรือน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต สร้างพื้นฐานให้พอมีพอกิน พอประมาณ สามารถพึ่งพาตนเองได้ ประกอบอาชีพสุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
หมู่ 7 บ้านกระเจา ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ คือโครงการต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน มีผู้นำดีเด่นที่มีความเพียร เสียสละ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ชาวบ้าน มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวและการประกอบทักษะอาชีพ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ปลูกฝังการรู้รักสามัคคีภายในชุมชน และให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านการเกษตร ชาวบ้านทำการเกษตรผสมผสาน เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักให้มีความหลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันในชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
3. ปัญหาและอุปสรรคในการลงพื้นที่
3.1 ชุมชนบางครัวเรือนยังไม่เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของ ศส.ปชต.
3.2 ไม่มีหนังสือแจ้งเจ้าหน้าที่ กศน. ตำบล ทำให้การดำเนินการล่าช้าและลำบาก
4. ข้อเสนอแนะ
4.1 ในการสำรวจข้อมูลมีระยะเวลาในการดำเนินงานค่อนข้างสั้น อาจทำให้การสำรวจข้อมูลนั้นไม่ทั่วถึงและได้เนื้อหาไม่ครบถ้วน
4.2 ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านควรประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น
4.3 ควรมีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจ ถึงบทบาทและหน้าที่ของ ศส.ปชต. ให้มากยิ่งขึ้น