SC20-2 เก็บข้อมูลการทำหมอน ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ประจำเดือนกันยายน 2565
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( U2T for BCG )
หลักสูตร SC20-2 คณะวิทยาศาสตร์
ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม
ข้าพเจ้า นายธีรวุฒิ คะเรรัมย์ ประเภทประชาชนทั่วไป ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ BCG (U2T for BCG and Regional Development) รอบที่ 2
ตั้งแต่สมัยก่อนการทำหมอนจากภูมิปัญญาไทยที่หลายคนรู้จักหน้าตาแต่ไม่รู้จักชื่อเรียก มักเป็นทรงสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเหมาะกับการนอน การเอนกายเพื่อพักเหนื่อย เป็นศิลปหัตถกรรมของคนภาคอีสานมาตั้งแต่โบราณ ทำจากผ้าขิดที่ต้องใช้ฝีมือระดับสูงในการทอ ในสมัยก่อนจึงมักทำหมอนใช้สำหรับงานมงคลและงานพิธีต่างๆ
การทอผ้าซึ่งเป็นงานหัตถกรรมที่สำคัญของชาวอีสานที่มีความผูกพันกับคติความเชื่อของชาวอีสานมาช้านาน ดังจะเห็นได้จาก “ผ้าขิด” ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำหมอน เป็นผ้าที่มีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป ผ้าเป็นผ้าที่ต้องใช้ฝีมือและความสามารถในการทอสูงกว่าผ้าชนิดอื่น ช่างอีสานถือว่าผ้าขิดเป็นของสูง จึงมักจะทอใช้ในโอกาสที่เป็นงานมงคลหรืองานพิธี หมอนเป็นภูมิปัญญา ที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งเป็นการรักษาวัฒนธรรมทางหัตถกรรมของภาคอีสานไว้ได้เป็นอย่างดี และยังได้นำมาประยุกต์เข้ากับศิลปะปัจจุบันตลอดจนประโยชน์ใช้สอยได้อย่างกลมกลืนตามสมัยนิยม ชาวอีสานในอดีตประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร มีการปลูกข้าวเพื่อยังชีพ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร ถ้าว่างจากการทำไร่ ทำนา ผู้ชายจะสานตะกร้า บุ้งกี๋ กระบุง ฯลฯ ไว้ใช้ในครัวเรือน หรือเอาไว้ใช้ในฤดูกาลทำนา ทำไร่ในปีต่อไป ส่วนผู้หญิงก็จะเย็บปักถักร้อย มีการปลูกฝ้ายเก็บดอกฝ้ายมาปั่นทำผ้าห่ม ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นำมาทอเป็นผืนผ้าไหมเพื่อได้นุ่งห่ม มีทั้งทอผ้าพื้นสำหรับตัดเสื้อผ้า หรือทำที่นอน ทอผ้าขาวม้า ทอผ้าลายมัดหมี่ และทอผ้าลายขิด สำหรับผ้าลายขิดจะใช้ทำหมอน ซึ่งการทำหมอน เกิดขึ้นมาพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวนาชนบท โดยเฉพาะชาวอีสานซึ่งเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านยังคงรักษาวัฒนธรรม ดั้งเดิมเอาไว้ โดยเฉพาะศิลปะในการทอผ้าเพื่อใช้สอยในครัวเรือน ทั้งเสื้อผ้าและเครื่องใช้ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ผู้หญิงส่วนใหญ่ ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายหรือญาติผู้ใหญ่ การทอผ้าลายขิด เป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ “ขิด” เป็นภาษาพื้นบ้านของภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาจากคำว่า สะกิด หมายถึงงัดช้อนขึ้นหรือสะกิดขึ้น สันนิษฐานว่ามาจากภาษาบาลีคำว่า ขิด แปลว่า ทำให้งดงาม ในสมัยโบราณผ้าขิดเป็นผ้าที่มีคุณค่าสูง ใช้ห่อพระไตรปิฎกซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาใน พุทธศาสนา ต่อมา ชาวบ้านได้นำผ้าขิดมาทำเป็นหมอนสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า ซึ่งการทอผ้าลายขิดและการทำหมอนได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน
ภาพประกอบ