โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้า นางสาววิไลลักษณ์ สมีรัตน์ ประเภทบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ ตำบลโนนขวาง อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จากกลุ่ม NS01-1 คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยดำเนินการลงพื้นที่และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์จากมะม่วงหาวมะนาวโห่และสมุนไพรในตำบลโนนขวาง ด้วยการทำแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์” จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์แยมมะม่วงหาวมะนาวโห่และสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน   บรรยากาศในวันจัดงานเป็นไปด้วยความราบรื่น ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันในการทำงาน

       

       

วันที่ 6-10 กันยายน 2565 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในกิจกรรม ECT Week เนื่องจากได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำตำบลให้ไปติดต่อประสานงานกับกรรมการ ศส.ปชต. ณ ที่ทำการ ศส.ปชต. เพื่อสอบถามและพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับ 1.บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน พบว่ามีหน้าที่ให้ความรู้ ส่งเสริม และเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการประชาธิปไตย เช่น การรณรงค์ให้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง การต่อต้านพฤติกรรมทุจริต การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองแก่ประชาชนให้เห็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและสังคม 2.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ พบว่า มีความสอดคล้อง คือ ชาวบ้านให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้สิทธิและเสรีภาพของตน เช่น การเลือกเข้าร่วมการเลือกตั้ง การเลือกคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นต้น การปฏิบัติตามกฎหมาย การฟังเสียงข้างมากเป็นหลักแต่ก็ยังรับฟังเสียงข้างน้อยด้วย เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น 3.การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร พบว่า ประชาชาชนต้องการผู้แทนทางการเมืองที่มีลักษณะมีความน่าเชื่อถือ พูดเป็น การศึกษาสูง มีความรู้ความสามารถ พร้อมกับคุณธรรม ซื่อสัตย์ มีความคิดเปิดกว้างเป็นเหตุเป็นผล เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถนำหมู่บ้านให้พัฒนายิ่งขึ้น 4.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ พบว่า มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านบางครัวเรือนปลูกผักกินในครัวเรือนและสามารถนำไปเป็นรายได้เสริมได้โดยการนำไปขายหลังเหลือจากการรับประทาน อีกทั้งยังใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อหรือฟุ่มเฟือยเกินรายรับที่ได้ 4.ปัญหาอุปสรรคในการลงพื้นที่ โดยรวมไม่มีอุปสรรคในการลงพื้นที่ มีฝนตกเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มีปัญหาอะไร และ 5.ข้อเสนอแนะ จากการลงพื้นที่และสำรวจข้อมูลตามหมู่บ้านต่าง ๆ เมื่อรายงานสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้วนำส่งให้กรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครู กศน.ตำบล)

     

     

สรุปผลจากการปฏิบัติงานและลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในกิจกรรม ECT Week ได้ข้อสรุปว่า ชาวบ้านต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ คุณธรรมมาเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารเพื่อให้หมู่บ้านหรือชุมชนเกิดการพัฒนายิ่งขึ้น และจากการผลิตสินค้า พบว่า การทำเเยมมะม่วงหาวมะนาวโห่และสเปรย์ปรับอากาศสมุนไพร ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลสามารถแก้ปัญหาผ่านไปด้วยดี เตรียมพร้อมขายสินค้าผ่านตลาด แล้วคำนวณผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ยอดขาย ต้นทุน กำไร และ ROI SROI ฯลฯ เพื่อทำ C-06 ต่อไป

ท้ายนี้การทำงานภายในทางทีมงานได้มอบหมายงานได้รับผิดชอบการทำหนังสือ ภายนอก ภายใน การเชิญวิทยากรต่างๆ ขอให้สถานที่ ซึ่งทำให้งานแต่ละงานได้ลุล่วงไปด้วยดี และขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาทุกๆท่านที่แนะนำการทำหน้าที่ต่างๆภายในกลุ่มให้มีการพัฒนาไปให้ในชีวิตประจำวันด้วยค่ะ