ลงพื้นที่ ดำเนินกิจกรรม ECT WEEKสำรวจข้อมูลเพื่อทำภารกิจแต่ละวัน (5-6 ก.ย. 2565) ดำเนินการสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คน แล้วนำมาสรุปประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวัน

การพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือ

  1. ใบ Certificate : จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพ 20 ep จาก application CIVIC DUCATION บนโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน แล้วทำแบบทดสอบ
  2. รายงานสรุปผลการลงพื้นที่ : เป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติ..ในสัปดาห์ ECT WEEK . เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. .

ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565 ณ ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (คส.ปชต.) ในเขตพื้นที่ตำบล สำโรงใหม่  ลงพื้นที่ดำเนินการในโครงการ U2T for BCG

“การจัดกลุ่มระดับความพร้อมการออกสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์/บริการ” จัดทำโลโก้ของผลิตภัณฑ์ตำบลสำโรงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงสู่ตลาด

ในเดือนกันยายนนี้เราได้ทำการพัฒนาสินค้าให้ออกมาสำเร็จเป็นตัวต้นแบบเพือใช้ในการผลิตสินค้าชิ้นอื่นๆต่อไปโดยมีการติดตามกระบวนการของการผลิตกระเป๋าจากซองกาแฟและมูลี่จากต้นกก ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมวัสดุสำหรับการผลิตการแก้ปัญหาในเรื่องวัสดุอุปกรณ์ และข้อจำกัดของเครื่องจักรสานโดยมีการติดต่อประสานงานและติดตามความคืบหน้กับคนในชุมชน เพื่อให้สินค้าสองชิ้นผลิตออกมาได้อย่างถูกต้องตามต้นแบบ

สินค้าชิ้นต่อไปคือ มูลี่จากต้นกก เป็นมูลี่ที่ทำมาจากต้นกกที่ทักทอด้วยฝีมือของคนในชุมชนโดยได้ออกแบบให้มูลี่มีหลากหลายรูปแบบทั้งมูลี่แบบชักขึ้นชักลงได้ที่มีการนำผ้าฝ้ายในชุมชนเข้ามามีส่วนช่วยในการแต่งเติมลวดลายเป็นลายขิด รวมไปถึงมูลี่ที่มีการย้อมสีธรรมชาติและถักทอขึ้นมาให้เป็นลายขิดซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนตำบลสำโรงใหม่ และสุดท้ายคือมูลี่กันแดดที่ทำจากต้นกกที่มีลวดลายการเพ้นด้วยสีอะคริลิคช่วยให้มูลี่มีความสดใสไม่น่าเบื่อด้วยลวดลายที่อ่อนช้อยและงดงาม

วันที่ 15 ถึง 18 กันยายน 2565 ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้จัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้า  U2T FOR BCG  มหาลัยสู่ตำบลทางกลุ่มของพวกเราได้นำสินค้าประกอบด้วย กระเป๋าปันรัก และมูลี่จากต้นกกมาวางจำหน่ายเพื่อให้มีรายได้เข้าสู่ชุมชน

สุดท้ายนี้กลุ่มของพวกเราขอขอบคุณโครงการดีๆที่นำมาพัฒนาชุมชนให้ชาวบ้านมีรายได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขอบอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์ประจำกลุ่มสมาชิกตลอดจนชาวบ้านและผู้ให้การช่วยเหลือทุกท่านที่ช่วยพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์เพื่อให้เกิดรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป