ข้าพเจ้า นางสาวรุ่งนภา วงษ์ระโห เป็นลูกจ้างในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ในหมู่บ้านผไทรวมพล ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 ทำงานในส่วนของบัณฑิตจบใหม่ทำงานร่วมกับประชาชน รวมถึงคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบเก็บข้อมูลบ้านไผทรวมรวมพลเรื่องการย้อมสีผ้าไหมจากสีธรรมชาติ
- การย้อมสีจากธรรมชาติ คือ การนำเอาวัตถุดิบในธรรมชาติที่ได้จากพืชต่าบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 ทำงานในส่วนของบัณฑิตจบใหม่ทำงานร่วมกับประชาชน รวมถึงคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบเก็บข้อมูลบ้านไผทรวมรวมพลเรื่องการย้อมสีผ้าไหมจากสีธรรมชาติงๆ มาทำการย้อมกับเส้นไหม เพื่อนำมาใช้ในการทอผ้า เพิ่มสีสันให้กับเส้นไหมให้มีความสวยงาม โดยการย้อมสีธรรมชาติ มีดังนี้ ทำความสะอาดเส้นไหม เตรียมน้ำย้อม เตรียมสารช่วยย้อมหรือสารช่วยติดสี และย้อมสี การย้อมไหมของชาวผไทรวมพลจากสีธรรมชาติใช้พืชที่ได้จากธรรมชาติได้แก่ เปลือกสะเดาจะให้สีน้ำตาล เปลือกมะพูดจะให้สีเหลือง ใบแก้วจะให้สีเขียว สบูเลือดจะให้สีเขียวอ่อน เปลือกฝางจะให้สีชมพู เป็นต้น
- เตรียมพืชที่ให้สีที่ต้องการลงไปต้มเพื่อสกัดสี ใส่เกลือ กับสารส้มลงไปตอนน้ำอุ่นๆ นำน้ำที่ต้มไว้ไปกรองเอาเศษพืชออกเอาแค่น้ำ นำน้ำย้อมที่ผ่านการกรองแล้ว มาตั้งไฟปานกลาง พอร้อนมีควันไม่ถึงกับเดือด นำเส้นไหมที่จะย้อม ที่เตรียมไว้ (ทำความสะอาดแล้ว) ลงย้อมในน้ำสีนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต้องหมั่นพลิกเส้นไหมให้ถูกน้ำย้อมเสมอกันทุกๆ 10 นาทีนำเส้นไหมขึ้นผึ่งให้เย็น เมื่อผึ่งให้แห้งแล้วซักด้วยน้ำเปล่าจนน้ำที่ล้างนั้นใสบิดเส้นไหมที่ล้างสะอาดแล้วให้หมาด กระตุกให้ตึง 2-3 ครั้งเพื่อให้เส้นไหมตรงซึ่งจะง่ายต่อการทอ แล้วนำไปผึ่งในที่ร่มจนแห้ง ถ้ายังไม่ทอควรนำไปเก็บไว้ในถุงเพื่อไม่ให้ฝุ่นเกาะและป้องกันสีซีด การที่จะได้สีสวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความชำนาญของแต่ละบุคคลด
- จากการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลชาวบ้านผไทรวมพลนั้น จะเห็นได้ว่าชาวบ้านส่วนใหญ่จะเน้นการย้อมสีที่ได้จากธรรมชาติมากกว่าสีเคมีเพราะวัสดุจากธรรมชาติที่ใช้ย้อมจะไม่เป็นพิษต่อผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาสู่ลูกหลาน และเป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพของชาวชนบทต่อไป