ข้าพเจ้า นางสาวปาริชาติ สัยรศ ประเภทบัณฑิต ตำบลพระครู หลักสูตรNS08-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
เป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในพื้นที่ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
ในการทำงานประจำเดือนในช่วงต้นกรกฎาคมได้มีการประชุมรวมกันพูดคุยการแบ่งหน้าที่ระดมความคิดเห็นการออกแบบผลิตที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เพื่อวางแผนในการทำงานในขั้นตอนต่อไปตามลำดับ
ในวันที่5 กรกฏมคม 2565ได้มีการประชุมกลุ่มผ่านทางไลน์กลุ่มประจำตำบลโดยมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 10 คนแบ่งเป็นประเภทบัณฑิตจำนวน5คน ประชนชน5คน โดยการระดมความคิดการออกแบบโลโก้ของผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้นและทันสมัยและได้รับหน้าที่ให้สรุปการประชุมของกลุ่มในครั้งนี้
วันที่8 กรกฎาคม 2565เข้าร่วมรับฟังการประฐมนิเทศออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ผ่านช่องทาง youtube ทางมหาวิทยาลัยมีการชี้แจงกระบวนการทำงานต่างๆ และทางส่วนกลางชี้แจงขั้นตอนของการดำเนินที่จะให้ผู้ปฏิบัติงานลงข้อมูลโครงการในระบบเพื่อปฏิบัติงานในโครงการ
วันที่11 กรกฎาคม 2565 สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมกลุ่มผ่านทาง Googlemeet โดยมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมทั้งหมด 12คน แบ่งเป็น อาจาร์ยประจำตำบล 2คน บัณฑิต5คน ประชาชน5คน เป็นการประชุมการเตรียมงานในขั้นตอนต่อไปการเจาะลึกรายละเอียดของชิ้นงานและการสร้างสตอร่ของชิ้นงานให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นระดมความคิดพัฒนารูปแบบกระเป๋าให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้นและการจัดเตรียมสถานที่เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนและวางแผนการทำงานในลำดับต่อไป
วันที่15กรฎาคม 2565 ได้รับหมอบหมายให้ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเนื้อทรายว่ามีความเป็นมาอย่างโดยข้าพเจ้าสรุปประเด็นได้ดั้งนี้คำว่าละหานทรายเป็นคำรวม ละหานทรายหมายถึงสภาพท้องที่ซึ่งอุดมไปด้วยที่ราบลุ่ม ทราย หมายถึงสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง มีความสวยงามปราดเปรียว รวมคำว่า ละหานทราย หมายถึงพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ชุกชุมไปด้วยเนื้อทราย แต่เดิมพื้นที่นี้เป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าโดยเฉพาะเนื้อทรายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จึงเรียกว่าบ้านละหานทรายซึ่งเป็นที่มาของเอกลักษณ์และชื่อผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของชุมกลุ่มในกลุ่มทำผ้าไหมรวมพลกระเป๋าผไท ซึ่งสรอดคร้องกับโมเดลแผน BCGชีวภาพ( Bioeconomy) เป็นระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
คลิปวีดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ 2565