ข้าพเจ้า นางสาววรลักษณ์ ศิริวรรณ ประเภทบัณฑิต เป็นผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลU2T for BCG)” ประจำเดือนกรกฎาคม

ในการปฏิบัติงานในเดือนกรกฎาคม เริ่มจากการประชุมออนไลน์ ได้มีการปรึกษาหารือกันเรื่องชื่อทีมและคิดจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยได้ข้อสรุปว่า ได้ชื่อทีม คือ G.B.Pakham และผลิตภัณฑ์ที่จะจัดทำขึ้นคือ

ผงปูนาโรยอาหาร เพราะข้อมูลจากคนพื้นที่คือคนในตำบลปะคำทำนาเป็นส่วนใหญ่ และได้มีการวางแผนการจัดหาสถานที่จัดทำ โดยสถานที่แรกที่สมาชิกได้เข้าไปพูดคุยนั้นไม่สะดวกให้ทางโครงการใช้สถานที่ ต่อมาทางสมาชิกได้ปรึกษาหารือกันใหม่เพื่อหาสถานที่จัดทำโครงการ โดยได้ข้อสรุปว่า ให้สมาชิกไปติดต่อกับกลุ่มสตรีตำบลปะคำเพื่อขอใช้สถานที่จัดทำโครงการ โดยทางกลุ่มสตรีตำบลปะคำยินดีให้ทางกลุ่มเข้าไปจัดทำโครงการได้ ต่อมาทางกลุ่มได้เข้าพื้นที่ชุมชนเพื่อศึกษาความเป็นมาและความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ว่ามีลักษณะการเป็นอยู่อย่างไร และประชุมปรึกษาหารือแนวทางการปฏิบัติงานในเดือนต่อไป

พื้นที่สำรวจสภาพทั่วไปของตำบลปะคำซึ่งมีหมู่บ้าน 10 หมู่บ้านดังนี้

1.บ้านปะคำ หมู่ 1

2.บ้านปะคำ หมู่ 2

3.บ้านโคกงิ้ว หมู่ 3

4.บ้านกองพระทราย หมู่ 4

5.บ้านทุ่งไผ่ หมู่ 5

6.บ้านปะคำ หมู่ 6

7.บ้านหนองกรวด หมู่ 7

8.บ้านป่ายาง หมู่ 8

9.บ้านประชาสามัคคี หมู่ 9

10.บ้านหนองสนวน หมู่ 10

สถานที่สำคัญต่างๆได้แก่

ปราสาทวัดโคกงิ้ว

อยู่บนทางสายนางรองปะคำ (ทางหลวงหมายเลข 348) ก่อนถึงอำเภอปะคำ 3 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานสมัยขอมด้านหลังวัดโคกงิ้ว เป็นอโรคยาศาลหรือโรงพยาบาลที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ตามคติในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ตั้งอยู่ภายในวัดโคกงิ้ว บ้านโคกงิ้ว .ปะคำ .ปะคำ .บุรีรัมย์ สันนิษฐานว่า เป็นอโรคยาศาล (โรงพยาบาล) ในจำนวน 102 แห่งที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลให้กับประชาชน ตามคตินิยมเรื่องพระโพธิสัตว์ของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ปราสาทวัดโคกงิ้ว เป็นโบราณสถานศิลปะขอม ตามแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปรางค์ประธานซึ่งก่อด้วยศิลาแลง วิหาร กำแพงแก้ว ซุ้มประตู สระน้ำ และยังมีประติมากรรมหินทรายรูปทิพยบุคคล 2 องค์ คือ พระไภษัชยคุรุ และพระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร และพบแผ่นสำริดรูปวงโค้ง ขนาด 13.5 x 21.7 .. จารึกด้วยอักษรขอม