โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ

BCG  (U2T for BCG ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

นางสาว วรรณวรินทร์ ดีเลิศรัมย์ ประเภท ประชาชน

หลักสูตร :AG08-2  ตำบลบ้านดู่ อำเภอนาโพธิ์  จังหวัดบุรีรัมย์

 

การปลูกหม่อน

ตำบลบ้านดู่ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชุมชนเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์ นอกจากการทำเกษตรแล้ว ชุมชนบ้านดู่ยังนิยมทำงานหัตถศิลป์ โดยเฉพาะการทอผ้าไหม หลายครอบครัวจึงแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ปลูกต้นหม่อนเพื่อใช้เลี้ยงตัวไหม ต้นหม่อนนั้น มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกมากที่สุดคือพันธุ์หม่อนน้อย และหม่อนตาดำ เพราะมีใบขนาดใหญ่ โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ซึ่งวิธีการปลูกหม่อน มีดังนี้

  1. การปลูกหม่อน ควรปลูกในฤดูฝน เริ่มจากการเตรียมแปลงปลูก โดยไถพรวนดิน ตากทิ้งไว้ 2 – 3 วันเพื่อให้วัชพืชแห้งตายเสียก่อน จากนั้นนำปุ๋ยคอก แกลบเผามาผสมรวมกันเพื่อให้ดินมีความร่วนซุย เหมาะกับการเพาะปลูก

 

  1.  เลือกพันธุ์หม่อนที่ต้องการปลูก โดยเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นหม่อนที่มีอายุประมาณ 1 ปี ต้องเป็นกิ่งที่แข็งแรง จากนั้น ตัดเป็นท่อน ยาวประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร มีตาติดกิ่งประมาณ 5 – 6 ตา

  1. ปักกิ่งพันธุ์ต้นหม่อนลงหลุม หลุมละ 2 กิ่ง โดยฝังลึกลงไปในดินประมาณ 2 ใน 4 ของความยาวของกิ่ง ระยะหว่างระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร ความห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร โดยปักให้กิ่งเอียงประมาณ 60 องศา ให้ตาพ้นจากดินประมาณ 3 – 4 ตา จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมหน้าดินไว้เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดินและป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นคลุมแปลงเร็วเกินไป
  2. เมื่อหม่อนเจริญเติบโตดีแล้ว ควรกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพื่อให้ต้นหม่อนเจริญเติบโต จนเมื่อต้นหม่อนมีอายุ 1 ปี สามารถเก็บใบหม่อนไปเลี้ยงตัวไหมได้

อนึ่ง ในการดูแลต้นไหมให้เจริญเติบโตนั้น นอกจากใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งต้นหม่อนด้วย เพราะจะทำให้ต้นไม่สูง สะดวกต่อการเก็บใบหม่อน และนอกจากนี้ต้องระวังโรคเพลี้ยและแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูของต้นหม่อนด้วย เช่น โรคราขาว โรคราแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เป็นต้น