บทความ : การส่งเสริมกระบวนการแปรรูปเนื้อลูกตาลสุกให้เป็นผลิตภัณฑ์แป้งลูกตาลสำเร็จรูปของชุมชน
เขียนโดย : นางสาวอารียา โต๊ะไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่
หลักสูตร : AG10-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ข้าพเจ้า นางสาวอารียา โต๊ะไธสง ผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ประเภทบัณฑิตจบใหม่ พื้นที่ตำบลบ้านเป้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการปฏิบัติงานของเดือนนี้ ผู้ปฏิบัติงานได้ทำตามกำหนดแผนงานที่อาจารย์ประจำตำบลได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติ ดังนี้

ขนมตาลเป็นขนมพื้นบ้านของไทยที่นิยมบริโภคกันมาช้านาน มีส่วนประกอบหลัก คือ เนื้อลูกตาลสุก แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาลทราย ขนมตาลมีวางขายมากในช่วงฤดูกาลที่ผลตาลสุกเท่านั้น (ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม) เนื้อตาลสุกมีลักษณะสีเหลือง มีกลิ่นหอม มีปริมาณน้ำสูง อีกทั้งเนื้อตาลสุกมีเบต้าแคโรทีนเกือบเท่ากับแครอท กลุ่ม U2T For BCG ตำบลบ้านเป้า จึงได้ทดลองนำลูกตาลสุกมาแปรรูปเป็นแป้งขนมตาลสำเร็จรูป โดยมีวิธีการทำขนมตาลแบบพื้นบ้านเริ่มจากนำเนื้อลูกตาลสุกมายีกับน้ำเปล่าให้เนื้อตาลละลายออกมา จึงกรองเอาเส้นใยตาลออกไป จากนั้นนำเนื้อตาลใส่ผ้าขาวบางมาแขวนไว้ให้แห้งประมาณ 2-3 คืน

จากนั้นนำเนื้อตาลที่ได้มาทำการศึกษาแบบโฟมแมท นำมาผสมกับแป้งข้าวเจ้า ผงฟู และน้ำตาล ให้เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้เป็นแป้งขนมตาลสำเร็จรูป หลังจากนั้นนำมาผสมกับกะทิ 210 กรัมต่อแป้งขนมตาลสำเร็จรูป 1 ถุง, ยีสต์ 1 ช้อนชา (ไม่ใส่ก็ได้), ใส่สีผสมอาหารสีเหลืองหรือสีส้มอย่างละ 1-2 หยด, เวลาหมักแป้งถ้าไม่ใส่ยีสต์ ใช้เวลาหมัก 1 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าใส่ยีสต์ใช้เวลาหมักแป้ง 1 ชั่วโมง หมักจนเกิดฟองก๊าซขึ้น นำแป้งขนมตาลที่ได้ใส่ในกระทงใบตองหรือภาชนะที่ต้องการ นึ่งจนสุกฟู โรยด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด จะได้เป็นขนมไทยที่มีลักษณะเนื้อของขนมตาลมีสีเหลือง นุ่มแต่เหนียว มีรูพรุน และมีกลิ่นหอมของเนื้อตาลสุก แล้วจึงนำผลิตภัณฑ์แป้งขนมตาลสำเร็จรูปไปจัดจำหน่ายให้กับผู้บริโภค และเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม U2T For BCG ตำบลบ้านเป้า สู่สาธารณะชน

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. ได้เรียนรู้ขั้นตอนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมตาล
  2. ได้เรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำลูกตาลสุกให้ได้เนื้อตาล
  3. ได้เรียนรู้การนำเนื้อลูกตาลมาทำตามกระบวนการโฟมแมทให้เป็นแป้งลูกตาล
  4. ได้เรียนรู้กระบวนการนำแป้งลูกตาลมาทำเป็นแป้งขนมตาลสำเร็จรูปและจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน
  5. ได้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาและการนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริง

แผนการปฏิบัติงาน

ภายในเดือนกันยายน 2565 คณะผู้ปฏิบัติงาน AG10-2 ตำบลบ้านเป้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีการวางแผนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ประชุมสรุปการทำงานและวางแผนการดำเนินงานในช่วงเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน 2565
  2. จัดเตรียมการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แป้งขนมตาลสำเร็จรูปให้กับคนชุมชน
  3. จัดเตรียมการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการย้อมสีผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติให้กับคนชุมชน
  4. ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูล TCD ให้ครบตามเป้าหมาย
  5. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานและวิดีโอประจำเดือนกันยายน 2565