“กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งขนมตาลสำเร็จรูปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

           ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล

ในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

ดังนั้นทีมผู้ปฏิบัติงานตําบลบ้านเป้าจึงมีแนวคิดในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ แป้งขนมตาลสําเร็จรูป” ขึ้นมา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นําออกจําหน่ายสู่ท้องตลาด โดยเริ่มต้นลงมือทำจากกลุ่มสมาชิก U2T ตำบลบ้านเป้า ซึ่งมีขั้นตอนกระบวนการดังต่อไปนี้

1.นำลูกตาลมาล้างทำความสะอาด

2. นำลูกตาลที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาฉีกเปลือกด้านนอกออกให้หมดและดึงเส้นดีตาลที่อยู่บนเต้าตาลออกให้หมดไม่เช่นนั้นขนมจะมีรสขม

3. นำตาลมายีในน้ำสะอาดให้เนื้อตาลออกจากเต้าตาลจนหมด

4. นำเนื้อตาลที่ยีแล้วมากรองเพื่อเอาเส้นใยของตาลออกหรือเอาซังตาลออก

5. นำเนื้อตาลที่กรองแล้วมาเทใส่ผ้าขาวบาง มัดรวบแล้วแขวนทิ้งไว้ 10 ชั่วโมงหรือ 1 คืน เพื่อให้สะเด็ดน้ำ ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเกรอะตาล เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วเราก็จะได้เนื้อตาลเพื่อจะนำไปแปรรูปเป็นแป้งสำเร็จรูปต่อไป

 

“ขั้นตอนการพัฒนา”

 

1.การเตรียมเนื้อตาล

2.ทดลองการนำเนื้อตาลมาแปรรูปเป็นแป้งขนมตาลสำเร็จรูป

3.ปรับเปลี่ยนสูตรการผสมแป้งให้ถูกต้องและตรงตามที่ต้องการ

การทำแห้งแบบโฟมแมท (Foam-mat Drying) เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารเหลว หรืออาหารที่มีลักษณะข้นเกิดเป็นโฟมที่มีความคงตัวจากนั้นนําไปเกลี่ยบนถาด แล้วนําไปทําแห้งด้วยลมร้อนอากาศขนาดเล็กที่กระจายทั่วไป จะไปเพิ่มพื้นที่ผิวสำหรับการเคลื่อนที่และการระเหยของน้ำ ส่งผลให้สามารถทำแห้งในระยะเวลาสั้น สิ่งสำคัญของกระบวนการนี้คือ ความคงตัวของโฟมตลอดระยะในระหว่างกระบวนการทำแห้ง  จึงจำเป็นต้องใช้สารช่วยให้เกิดโฟม ซึ่งนิยมใช้คือ สาร Methocel และสารที่ช่วยในการรักษากลิ่นและความคงตัวของสี คือ สาร Maltodextin

4.ประสานงานกับหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป้า

5.จัดเตรียมการอบรมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่น

 

ทั้งนี้การปฏิบัติงานภายในเดือนสิงหาคมทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T ตำบลบ้านเป้า ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีงานวิถีอีสาน (ฮีต12คอง14) ประจำปี 2565 ณ วัดหงษ์ อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ อีกด้วย