โครงการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ  BCG ( U2T for BCG and Regional Development )

ผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้านขนมดอกจอก  กลุ่มแม่บ้าน  บ้านแก่นท้าว  ตำบลบ้านแวง  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางศรัณย์พร  พลแสน  ประชาชนตำบลบ้านแวง  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ดูการทำผลิตภัณฑ์ขนมพื้นบ้านขนมดอกจอก  กลุ่มแม่บ้าน  บ้านแก่นท้าว  ตำบลบ้านแวง  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์  จากการสอบถามพบว่ากลุ่มแม่บ้านทำผลิตภัณฑ์ขนมดอกจอกก่อตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564  ประธานกลุ่มคือนางสนธยา  ถาดไธสงประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด  10  คน  กลุ่มรวมตัวกันเป็นระยะเวลา 7-8  เดือน  สถานที่ผลิตที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ 5  บ้านแก่นท้าว  ตำบลบ้านแวง  อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยได้มีงบประมาณจากหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอพุทไธสง  ในการเพิ่มอาชีพส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้  กลุ่มแม่บ้านบ้านแก่นท้าวถนัดและมีฝีมือในการทำขนมดอกจอกอยู่แล้ว  และขนมดอกจอกยังเก็บรักษาได้นาน  สามารถทำส่งขายตามร้านค้าได้จึงได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขายให้หมู่บ้านและร้านค้าใกล้เคียง

วัตถุดิบ

1.แป้งข้าวเจ้า      1             ถ้วยตวง

2.แป้งสาลี           1             ถ้วยตวง

3.น้ำตาลทราย     ¾          ถ้วย

4.ไข่ไก่                 1             ฟอง

5.กะทิ                   ½          ถ้วยตวง

6.เกลือ                 1             ช้อนชา

7.น้ำปูนใส           1             ถ้วยตวง

8.งาดำ                  2             ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.ผสมส่วนผสมทุกอย่างรวมกันใช้ตะกร้อตีให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน

2.นำพิมพ์แช่น้ำมันให้พิมพ์ร้อน  ใช้ไฟปานกลาง

3.นำพิมพ์มาจุ่มในแป้งนำไปทอด  พอสุกเป็นสีน้ำตาล  ตักขึ้นวางบนถ้วยตะไลที่คว่ำไว้ให้สะเด็ดน้ำมัน

4.พักไว้ให้เย็นนำมาใส่ถุงบรรจุภัณฑ์

การสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนควรมีการออกแบบให้สอดคล้องกับตลาดหรือกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนั้น  โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า  การสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนทำรายได้ให้กับชุมชนเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาความยากจน  ก่อให้เกิดความเข้มแข็งและส่งเสริมการพัฒนาในระดับรากหญ้าอย่างยั่งยืน