ข้าพเจ้านางสาวณัฐธิดา ปะรุดรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การปฏิบัติงานเดือนกันยายน
สัปดาห์แรก ทีมงานตำบลหนองเยืองเก็บข้อมูล TCD ครบตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย ในวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 65 ทางคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และวิทยากรจากจังหวัดลพบุรีได้นัดคณะบัณฑิตและประชาชน U2T ตำบลหนองเยืองลงพื้นที่ เอาแบบลายผ้าที่ออกแบบไว้มาให้ทอและประสานงานกับกลุ่มขนมไทยสื่ออารมณ์เพื่อนัดหมายการทำขนมและออกบูธในวันที่ 14-18 กันยายน 65 เพื่อทำการออกตลาดต่อยอดสินค้าที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สัปดาห์ที่ 2 คณะทีมงานตำบลหนองเยืองได้ดำเนินกิจกรรม ECT WEEK ในระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565 โดยวันที่ 5 ทีมงานตำบลหนองเยืองได้ติดต่อประสานงานกับ กก.ศส.ปชต.ประจำตำบล (ครูกศน.ประจำตำบล) เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. วันที่ 6-8 ได้ลงพื้นที่ตามหมู่บ้านในตำบลหนองเยือง เพื่อพูดคุยกับชาวบ้าน ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามหัวข้อในใบงานที่กำหนดให้
-ให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของกก.ศส.ปชต.
-ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนในสังคมในระบอบประชาธิปไตย ( วิถีชีวิตและประชาธิปไตย )
-ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้แทนทางการเมืองของประชาชนที่พึงประสงค์
-ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และวันที่ 9 ได้ทำการสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและมอบใบงานให้ครู กศน.ประจำตำบล
สัปดาห์ที่ 3 ทีมงานตำบลหนองเยืองได้เข้าอบรบ Shopee Marketplace และร่วมปรึกษากันเกี่ยวกับการออกบูธในวันที่ 14-18 กันยายน 2565 และจัดทำ C05-C06 , จัดเตรียมผลิตภัณฑ์ที่จะจำหน่ายวันออกบูธ
วันที่ 14 – 18 กันยายน 2565 ได้นำผลิตภัณฑ์จากตำบลหนองเยือง ได้แก่ ผ้าทอพลิ้ว ผ้าไหม ขนมไทย ขาย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการจัดบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีผู้คนเที่ยวชมบูธจัดจำหน่ายสินค้าหลากหลายชนิดและแตกต่างกันออกไปและมีลูกค้าสนใจทั้งขนมไทยและผ้าทอพลิ้วของตำบลหนองเยือง “ผ้าทอพลิ้วลายนาคเฝ้ากู่ “ซึ่งเป็นลายที่ตำบลหนองเยืองได้ออกแบบขึ้น ผ้าทอพลิ้วลายนาคเฝ้ากู่ได้ออกแบบมาจากปางกู่ฤาษีเพราะในตำบลหนองเยืองมีปางกู่ฤาษีซึ่งเป็นอุทยานประวัติของตำบลหนองเยืองมาตั้งแต่โบราณและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าไหมและการออกแบบลวดลายของกลุ่มแม่บ้านที่มีฝีมือที่ออกแบบลวดลายให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมซึ่งก็คือปางกู่ฤาษี จากการจำหน่ายในครั้งนี้ทำให้ผ้าทอพลิ้วและขนมไทยมียอดขายรวมเพิ่มขึ้นมากว่า10% และในตำบลหนองยังมีช่องทางการขายใน (E-Commerce) ได้แก่ shopee , เพจ facebook
สรุปยอดขายเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน
เดือนกรกฎาคม
– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน
– ยอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน
เดือนสิงหาคม
– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน
– ยอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน
ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาสินค้า รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในเดือนกันยายน พร้อมทั้งทำการเปิดตลาดสินค้าสินค้าออนไลน์ใน shopee ปรากฎว่ายอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิกเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 6,750 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%
ส่วนยอดขายของขนมไทยสื่ออารมณ์ เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 7,500 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%