ED09-2 การปฎิบัติงานประจำเดือน กันยายน 2565 ต.หนองเยือง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวพรทิภา ทะลาไธสง และทีมงานเจ้าหน้าที่ดำเนินงานประเภทบัณฑิต  ตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ
BCG (U2T for BCG) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
       เริ่มปฎิบัติงานเดือน กันยายน 2565
สัปดาห์ ที่1
ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ได้ครบตามจำนวนที่ได้รับมอบหมายแล้ว

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565 คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์และวิทยากรจากจังหวัดลพบุรี ลงพื้นที่เอาแบบลายผ้าที่ออกแบบไว้มาให้

สัปดาห์ที่ 2
คณะอาจารย์ได้มอบหมายให้ U2T ตำบลหนองเยือง ดำเนินกิจกรรม ECT Week ราวมกันกับ ศส.ปชต. ทีมงานร่วมกันทำการสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คน และนำมาสรุปและประมวลผลลงในแบบรายงาน โดยทำการลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ECT Week ภายในวันที่ 5-9 กันยายน 2565
-พูดคุยกับชาวบ้านถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต.
-พูดคุยกับชาวบ้านถึงพฤติกรรมของคนในสังคมในระบอบประชาธิปไตย (วิถีชีวิตและประชาธิปไตย)
-พูดคุยกับชาวบ้านถึงผู้แทนทางการเมืองของประชาชนที่พึงประสงค์
-พูดคุยกับชาวบ้านถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และสรุปผลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลส่ง ศส.ปชต. และอาจารย์ประจำตำบล

สัปดาห์ที่ 3
ทีมงาน U2T ร่วมปรึกษาช่วยกันทำ C-05 ส่งให้อาจารย์ประจำตำบล
ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้จัดงานเพื่อให้ทีมงาน U2T ทุกตำบลมาออกบูธเพื่อทำยอดรายได้ให้ไม่ต่ำกว่า 10% ในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 

สรุปยอดขายเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน

เดือนกรกฎาคม

– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน

– ยอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน

เดือนสิงหาคม

– ยอดขายขนมไทยสื่ออารมณ์ รวม 5000 บาท/เดือน

– ยอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิก รวม 5000 บาท/เดือน

ซึ่งหลังจากทำการพัฒนาสินค้า รวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่ ในเดือนกันยายน พร้อมทั้งทำการเปิดตลาดสินค้าสินค้าออนไลน์ใน shopee ปรากฎว่ายอดขายผ้าทอพริ้วบ้านโคกจิกเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 6,750 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%

ส่วนยอดขายของขนมไทยสื่ออารมณ์ เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาท/เดือน จากต้นทุน 7,500 บาท ซึ่งเป็นกำไรสุทธิ 25%