รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง
โควิทด้วยเศรษฐกิจ
BCG (U2T BCG)
ประจำเดือน กรกฎาคม 2565

หลักสูตร : HS11-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานราก “ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพ” ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาวเกศริน สุดไชย ผู้ปฏิบัติงาน ประเภท ประชาชน
รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่ตําบลแสลงพัน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการปฏิบัติงาน
ข้าพเจ้าและทีมงานของโครงการ U2T ในความดูแลของอาจารย์ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้เข้าประชุมรับฟังการปฏิบัติงานผ่านแอพพลิเคชั่น Google meet โดยท่านอาจารย์ผู้ดูแลประจำตำบล วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 19.00 น. ชี้แจงรายละเอียด มีดังนี้ การลงวลา ผู้ปฏิบัติงานจะต้องลงเวลาทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.00 – 10.00 น. ยกเว้นวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ และหารือแนวทางการทำงานในเฟส 2 จะต้องมีการสร้างผลิตภัณฑ์ของตำบลขึ้นมา 2 ชนิด โดยได้ร่วมกันลงมติในที่ประชุมว่าจะทำผลิตภัณฑ์ ผ้าไหม และเทียนหอมเพื่อสุขภาพ และชี้แจงรายละเอียดในการนำผลิตภัณฑ์ส่งประกวด Hackathon ซึ่งผลิตภัณฑ์จะมีความเป็นมาเกี่ยวกับวัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่น เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน และเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ตามหลัก BCG และอาจารย์ได้มอบหมายงานให้ข้าพเจ้าและทีมงานคิดชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์คนละ 1 ชื่อ เพื่อคัดหาชื่อแบรนด์ของตำบลแสลงพันและนำเสนอโครงการต่อไป
วันที่ 5 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าเรียนออนไลน์ BCG Learning ในบทเรียนที่ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้จัดทำขึ้น ผ่านเว็ปไซต์ https://www.u2t.ac.th/e-learning ได้เข้าสู่บทเรียน “คัดสรร” คือ เข้าใจหลักการและแนวคิด BCG Bio เศรษฐกิจชีวภาพ – Circular เศรษฐกิจหมุนเวียน – Green เศรษฐกิจสีเขียว ผ่านการคิดและกระบวนการ Hackathon เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ใช้เหตุผล แก้ปัญหา เชื่อมโยงให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยมีเนื้อหาที่ศึกษาทั้งหมด 4 หัวข้อ ดังนี้
1. M-01 คติและหลัก BCG เศรษฐกิจ
2. M-02 คิดเชิงออกแบบ Design thinking
3. M-03 โมเดลธุรกิจ แคนวาส
4. M-04 เร่งรีบ (Growth Hacking)
วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19.00 น. ได้มีการประชุมเพิ่มเติมเรื่อง รายงาน C01 และสรรหาแอดมินประจำตำบล เพื่อดูแลระบบและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งให้เสนอชื่อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของตำบลได้ข้อสรุปเป็นชื่อ “ลายเถาแสลงพัน” เป็นลวดลายที่ถูกคิดขึ้นมาจากเถาต้นแสลงพันซึ่งเป็นต้นไม้ประจำถิ่นที่มีเอกลักษณ์ เป็นต้นไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ซึ่งผ้าไหมลายเถาแสลงพันนี้ก็จะได้มีการคิดและการพัฒนารูปแบบเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานสามารถวางจำหน่ายช่องทางต่างๆ เป็นของฝากและสินค้าประจำท้องถิ่น สร้างอาชีพ สร้างชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้ชุมชนชาวแสลงพันต่อไป
วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ในตำบลแสลงพัน ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านแสลงพัน หมู่ 7 เพื่อประชุมวาระงานดังนี้
1) แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 9 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย และ หมู่ 10 บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ
2) สำรวจวัสดุพันธุ์พืชธรรมชาติสมุนไพรที่ทำให้เกิดกลิ่นหอมสามารถนำมาดัดแปลงได้ สามารถนำมาสกัดให้กลิ่นที่รู้สึกผ่อนคลายได้อารมณ์ Refresh, Reboot, Relax
3) รูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์เอกลักษณ์ของแสลงพัน การทำเทียนขี้ผึ้งหรือเทียนหอมเพื่อสุขภาพ
4) การออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของแสลงพัน
5) ตำนานศาลปู่ตา ที่มาของแสลงพันมีความเป็นมาอย่างไร

วันที่ 12-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565  ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล หมู่ 9 บ้านสี่เหลี่ยมน้อย และ หมู่ 10 บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งพบพืชสมุนไพร อาทิเช่น
1. ตะไคร้หอม
2. ใบหนาด
3. ใบเตย
4. มะกรูด
5. ขิง
6. กระชาย
7. ขมิ้น
8. ข่า
9. มะนาว
10. ผักอีตู่นา
11. ดอกปีบ (ภาษาถิ่น เรียก ดอกกันของ)
12. เปราะป่า (ภาษาถิ่น เรียก ว่านตูบหมูบ) หัวหรือเหง้ามีกลิ่นหอม ใช้สำหรับทำลูกประคบ

จากการสำรวจก็ได้พบสมุนไพรหลากหลายชนิด และบางชนิดก็เป็นสมุนไพรที่หลายคนไม่รู้จักและกำลังจะถูกลืม เช่น เปราะป่า หรือภาษาถิ่น เรียกว่า ว่านตูบหมูบ ซึ่งจะเกิดปีละครั้งให้กลิ่นหอมคล้ายกระชาย และสมัยก่อนนิยมนำไปทำลูกประคบ เพื่อใช้ตามสถานที่นวดแผนโบราณหรือสปา และนอกจากนี้ยังสามารถนำไปต้ม เพื่อเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าได้เลือกนำเสนอชนิดที่สามารถนำมาสกัดให้กลิ่นหอมได้ ซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่นและหาได้ง่าย

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน
ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน

 

 

 

 

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสมุนไพรในชุมชน


(ข้อเสนอแนะ)
– ควรนำผลิตภัณฑ์ผ้าไหม “ลายเถาแสลงพัน” ไปแปรรูปเพื่อให้เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โดยนำไปตัดชุดสวมใส่ในโอกาสต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถออกแบบให้ดูทันสมัย ประยุกต์ปรับเปลี่ยนตามแฟชั่น และอาจจะนำมาทำหน้ากากผ้าไหม ที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อโรค และช่วยเสริมความสวยงาม ความหรูหราที่สอดแทรกไปกับความทันสมัยได้
– ควรทำผลิตภัณฑ์เทียนหอมเพื่อสุขภาพให้มีความสวยงามจากรูปลักษณ์ภายนอก เพื่อดึงดูดจุดขาย โดยอาจจะหลายกลิ่นในขวดเดียวกัน หรืออาจจะทำหลายสีในขวดเดียวกัน และอาจจะทำเป็นสีโทนพาสเทล เพื่อให้เข้ากับสมัยนิยมในปัจจุบัน และยังสามามรถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้โดยการขายเป็นแพ็กเกจ อาทิเช่น เทียนหอมพร้อมเครื่องอุ่นเทียน คละสี คละแบบ คละกลิ่น แตกต่างกันไป