รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิทด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG)
ประจำเดือนสิงหาคม 2565
หลักสูตร: HS11-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานราก “ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพ”
ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือน สิงหาคม 2565
ข้าพเจ้า นายเจษฎา กุลสุนทรรัตน์ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทบัณฑิตจบใหม่
รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่ตําบลแสลงพัน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
- กิจกรรมประชุม Online และ Onsite
วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านGoogle Meet สรุปวาระการประชุมวันที่ 20 กรกฎาคม 2565
1) ขอบคุณ admin จัดทำแบบฟอร์มเอกสาร c-01 c-02
2)ชี้แจ้งการปฏิบัติงานในการลงเวลาเข้างานเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการไม่ต้องลงเวลา
3)แผนการปฏิบัติงานเดือนถัดไป พร้อมทั้งนัดหมายจัดกิจกรรมทำผลิตภัณฑ์เทียนขี้ผึ้งหอมลงพื้นที่จัดกิจกรรมวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 ที่ศาลาประชารัฐ บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 เวลา 10.00น.
-การทำบรรจุภัณฑ์เทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพทั้ง 3 รูปแบบ สไตล์มินิมอล package ที่สามารถพร้อมถวายพระได้ ผลิตภัณฑ์แบบแก้ว
-การทำเทียนขี้ผึ้งให้เกิดหลากหลายกลิ่น ตัวอย่างเช่น กลิ่นตะไคร้หอม กลิ่นมะกรูด เป็นต้น
5)การออกแบบโลโก้ของผลิตภัณฑ์สื่อความหมายและออกความคิดเห็นร่วมกันและปรับเปลี่ยนโลโก้ให้เหมาะสมของมัติในที่ประชุมโดยมีการปรับเปลี่ยนโลโก้ให้สวยงามมากขึ้น ซึ่งแนวคิดในการออกแบบโลโก้คือ
สี เทา 1 พัน คือ ความเข้มแข็ง ขลัง
Made สีเขียว คือ ตัวอักษรคล้ายเถาเครือไม้ ธรรมชาติ
36 สีเขียว คือ เลขมงคล ความปัง สีเขียวคือความเบิกบาน ธรรมชาติ
ใบไม้ คือ ความเจริญงอกงาม ออกผลผลิตมีคุณภาพ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน (โปรแกรม Microsoft Team)
1.การเข้าใช้งานข้อมูล CBD ของตำบลเก่า จะต้องคัดกรองข้อมูล ถ้าซ้ำจะต้องมาการคัดออก ในแอป CBD เมื่อทำการเพิ่มข้อมูลจะมีการค้นหาข้อมูลซ้ำอยู่แล้ว ถ้ามีแล้วไม่ต้องกรอกเพิ่ม แต่ถ้าข้อมูลในระบบให้กรอกเพิ่ม และให้อัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ส่งข้อมูล CBD วันสุดท้ายคือเดือนกันยายน การเข้าApp ให้เข้าที่ cbd.u2t.ac.th และตำบลใหม่นั้นทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขอความร่วมมือให้ผู้ปฎิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลในตำบลนั้นขั้นต่ำจำนวน 500 ข้อมูล โดยได้แก่ ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิท แหล่งท่องเที่ยว ที่พีกและโรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่นอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น
ปัญหาที่พบ คือ
E-mail ที่เข้าใช้App จะเป็น E-mail และ Password เดียวกับ การเข้าใช้ e-learning ของ U2T ถ้าเข้าไม่ได้ให้เข้า Reset Password และทำตามระบบที่แสดงขึ้น ถ้า E-mail และ Password ถูกต้องแล้วแต่ยังเข้าไม่ได้ ให้แจ้งอาจารย์ประจำตำบล
ระบบที่ผู้ปฎิบัติงานใช้งาน
1.ระบบลงเวลา และระบบเขียนรายงาน ระบบนี้จะเป็นของ BRU
- ระบบ TCP และ ระบบ BCG ระบบนี้เป็นของ กระทรวง อว.
App CBD ระบบใหม่ สามารถแก้ไข และลบข้อมูลได้ ในส่วนของอาจารย์ประจำตำบลสามารถทำได้ทุกอย่าง การลงข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง เช่น พิกัดของข้อมูลนั้น ให้เช็คข้อมูลให้ถูกต้อง
คู่มือการเข้าใช้งาน App CBD คือ bit.ly/bru-tcb
2.กิจกรรมการทดลองผลิตเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพ วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 ได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานที่ศาลาอเนกประสงค์ บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 เพื่อทดลองกระบวนการผลิตเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุภาพ โดยรายละเอียดมีดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทำเทียนขี้ผึ้งหอม
1.พาราฟิน ขี้ผึ้ง ไขถั่วเหลือง (soy wax) หรือเทียนเล่มเก่า
2.เชือกฝ้าย สำหรับทำไส้เทียน
3.แหวนสกรูสำหรับยึดไส้เทียน หรือจะเลือกซื้อไส้เทียนสำเร็จก็ได้
4.ตะไคร้หอมและผลมะกรูด
5.ภาชนะบรรจุเทียน เช่น กระปุกแก้ว ถ้วยแก้ว หรือจะเลือกใช้เป็น “แม่พิมพ์เทียน” ก็ได้
6.หม้อต้มเทียน (หม้อ 2 ชั้น) หรือหม้อโลหะ กับถ้วยแก้วทนไฟ
7.อุปกรณ์ตวง ทัพพีหรือช้อนตัก กรรไกร ตะเกียบ
8.มีด ครก เพื่อการหั่นและตำเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมและผลมะกรูด
วิธีการทำ
1.ละลายพาราฟินนำเชือกฝ้ายลงไปชุบ จากนั้นดึงไส้เทียนให้ตึง จากนั้นคีบขึ้นมาทิ้งไว้ พอแห้งจะได้ไส้เทียนเป็นเส้นตรง
จากนั้นตัดความยาวตามต้องการเมื่อไส้เทียนแข็งตัวจึงนำมายึดติดกับแหวนสกรูด้วยกาวร้อน กับถ้วยหรืออุปกรณ์ใส่เทียนอื่นๆ
วิธีการทำเทียนหอม
1.แบ่งพาราฟิน ขี้ผึ้ง ให้ผสมพาราฟิน และแว๊กซ์ในสัดส่วนที่เท่ากัน (ถ้าชั่งเป็นน้ำหนักให้ใช้ สัดส่วนพาราฟิน 100 กรัม ต่อแว๊กซ์ 30 กรัม) ต้มในหม้อต้ม 2 ชั้น จนหลอมละลายเข้ากัน
2.นำผลมะกรูดทำความสะอาด จากนั้นนำมาปอกเอาแต่ผิว จากนั้นนำไปใส่ในหม้อเทียนที่กำลังร้อน เคี่ยวจนฟองที่เกิดขึ้นยุบลง
3.เทเทียนที่ยังร้อนอยู่ลงในพิมพ์ หรือภาชนะใส่เทียนอื่นๆ ที่มีไส้เทียนรอไว้ หาตะเกียบหรือแผ่นไม้เจาะรูวางทับเพื่อไม้ไห้ไส้เทียนล้มทิ้งให้เย็น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย (ไขถั่วเหลืองจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง)
3.วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลทรัพยากรในท้องถิ่น บ้านบุขี้เหล็ก บ้านบุขี้เหล็กใหม่และบ้านบุขี้เหล็กใหม่พัฒนา ต.แสลงพัน อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ (TCD) ชุมชนอยู่กับฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิชุมชนสืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต ซึ่งเป็นกระบวนการที่สัมพันธ์กันของด้านพืชในท้องถิ่นและวิถีชีวิตของคนในชุมชน ให้ความสำคัญกับประเพณีในชุมชน ให้ความสำคัญกับการเกษตรพอเพียง ให้ความสำคัญกับการครอบครองทรัพยากรในจำนวนจำกัดเฉพาะที่ใช้ประโยชน์
กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไป
1.การออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนหอมขี้ผึ้งเพื่อสุขภาพ บรรจุภัณฑ์และการคิดแผนธุรกิจของโครงการต่อไป
2.สร้างแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่คิดขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของสินค้า เพื่อจำหน่ายทั้งตลาดออนไลน์และร้านค้าชุมชน
3.วางแผนและสร้างการประชาสัมพันธ์ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนขี้ผึ้งหอมเพื่อสุขภาพเพื่อให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
4.จัดการอบรมและรวมกลุ่มประชาชนในตำบลเพื่อทำการผลิตภัณฑ์ต่อไป