รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้างงาน
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง
โควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG)
ประจำเดือน สิงหาคม 2565

หลักสูตร: HS11-1 การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานราก “ผ้าไหมลายเถาแสลงพันและเทียนขี้ผึ้งเพื่อสุขภาพ” ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นางสาวเกศริน สุดไชย ผู้ปฏิบัติงาน ประเภท ประชาชน
รับผิดชอบการดําเนินงานในเขตพื้นที่ตําบลแสลงพัน อําเภอลําปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการปฏิบัติงาน
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 19.00 น. ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet สรุปวาระการประชุมดังนี้
1. ขอบคุณ admin เจษฎา และอนุชา ในการดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มเอกสาร C-01 รายการโครงการ และ C-02 แผนธุรกิจ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
2. เน้นย้ำการปฏิบัติงาน การลงเวลาเข้างานในระบบ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ไม่ต้องลงเวลา
3. แจ้งรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานเดือนถัดไป
4. นัดหมายทำผลิตภัณฑ์เทียนขี้ผึ้งหอม โดยลงพื้นที่จัดกิจกรรมวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ ศาลาประชารัฐ บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 เวลา 10.00 น.
5. การทำบรรจุภัณฑ์เทียนขี้ผึ้งหอม 3 รูปแบบ ดังนี้
5.1 แบบขวดแก้วพร้อมกล่องบรรจุภัณฑ์
5.2 แบบธรรมดาพร้อมกล่องบรรจุภัณฑ์
5.3 แบบกระป๋องเหล็กใส่ถุงผ้า
6. การออกแบบโลโก้ของผลิตภัณฑ์สื่อความหมายและออกความคิดเห็นร่วมกัน โดยได้ข้อสรุปและแนวคิดของแบรนด์ดังนี้

แนวคิดในการออกแบบโลโก้แบรนด์สินค้า
สีเทา 1,000 คือ ความเข้มแข็ง ขลัง
Made สีเขียว คือ ตัวอักษรคล้ายเถาเครือไม้ ธรรมชาติ
36 สีเขียว คือ เลขมงคล ความปัง สีเขียว คือ ความเบิกบาน ธรรมชาติ
ใบไม้ คือ ความเจริญงอกงาม ออกผลผลิตมีคุณภาพ

วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าและทีมงานร่วมกันทดลองทำเทียนหอม ณ ศาลาประชารัฐ
บ้านแสลงพัน หมู่ที่ 7 โดยมีขั้นตอนและวิธีการทำดังนี้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองทำเทียนขี้ผึ้งหอม
1. พาราฟิน ขี้ผึ้ง ไขถั่วเหลือง (soy wax) หรือเทียนเล่มเก่า
2. ผลมะกรูด
3. ตะไคร้หอม
4. ผ้ากรอง
5. เชือกฝ้าย สำหรับทำไส้เทียน
6. แหวนสกรูสำหรับยึดไส้เทียน หรือจะเลือกซื้อไส้เทียนสำเร็จก็ได้
7. หม้อต้มเทียน (หม้อ 2 ชั้น) หรือหม้อโลหะ กับถ้วยแก้วทนไฟ
8. อุปกรณ์ตวง ทัพพีหรือช้อนตัก กรรไกร ตะเกียบ
9. มีด ครก เพื่อการหั่นและตำเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมและผลมะกรูด
10. ภาชนะบรรจุเทียน เช่น กระปุกแก้ว ถ้วยแก้ว หรือจะเลือกใช้เป็น “แม่พิมพ์เทียน” ก็ได้

วิธีการทำ
1. ละลายพาราฟินนำเชือกฝ้ายลงไปชุบ จากนั้นดึงไส้เทียนให้ตึง จากนั้นคีบขึ้นมาทิ้งไว้ พอแห้งจะได้ไส้เทียนเป็นเส้นตรง จากนั้นตัดความยาวตามต้องการ เมื่อไส้เทียนแข็งตัวจึงนำมายึดติดกับแหวนสกรูด้วยกาวร้อน กับถ้วยหรืออุปกรณ์ใส่เทียนอื่นๆ


2. แบ่งพาราฟิน ขี้ผึ้ง ให้ผสมพาราฟิน และแว๊กซ์ในสัดส่วนที่เท่ากัน (ถ้าชั่งเป็นน้ำหนักให้ใช้ สัดส่วนพาราฟิน 100 กรัม ต่อแว๊กซ์ 30 กรัม) ต้มในหม้อต้ม 2 ชั้น จนหลอมละลายเข้ากัน ในกรณีที่ใช้ “ไขถั่วเหลือง” ให้นำไขถั่วเหลืองมาใส่ถ้วยแก้วที่ทนความร้อน ในหม้อที่ต้มน้ำร้อนไว้แล้ว จากนั้นต้มไขถั่วเหลืองให้ละลาย คนไขถั่วเหลืองให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นยกลงมาตั้งพักให้อุ่น


3. นำผลมะกรูด มาทำความสะอาด จากนั้นนำมาปอกเอาแต่ผิว  หรือนำตะไคร้หอมมาทำความสะอาด แล้วซอยเป็นชิ้นเล็ก แล้วนำไปใส่ในหม้อเทียนที่กำลังร้อน เคี่ยวจนฟองที่เกิดขึ้นยุบลงจดหมด จากนั้นนำไปกรองด้วยผ้าขาวบาง


4. เทเทียนที่ยังร้อนอยู่ลงในพิมพ์ หรือภาชนะใส่เทียนอื่นๆ ที่มีไส้เทียนรอไว้ หาตะเกียบหรือแผ่นไม้เจาะรูวางทับเพื่อไม่ไห้ไส้เทียนล้ม ทิ้งไว้ให้เย็น เป็นอันเสร็จเรียบร้อย (ไขถั่วเหลืองจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง)

ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Microsoft Team  เรื่อง การเข้าใช้งานบันทึกข้อมูล CBD ในพื้นที่รับผิดชอบมีรายละเอียดดังนี้ ข้อมูล CBD ของตำบลเก่า จะต้องคัดกรองข้อมูล ถ้าซ้ำจะต้องทำการคัดออก ในแอป CBD เมื่อทำการเพิ่มข้อมูลจะมีการค้นหาข้อมูลซ้ำอยู่แล้ว ถ้ามีแล้วไม่ต้องกรอกเพิ่ม แต่ถ้ามีข้อมูลในระบบให้กรอกเพิ่ม และให้อัพเดพข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ส่งข้อมูล CBD วันสุดท้ายคือเดือนกันยายน การเข้า App ให้เข้าที่ cbd.u2t.ac.th

ปัญหาที่พบ คือ
E-mail ที่เข้าใช้ App จะเป็น E-mail และ Password เดียวกับ การเข้าใช้ e-learning ของ U2T ถ้าเข้าไม่ได้ให้เข้า Reset Password และทำตามระบบที่แสดงขึ้น ถ้า E-mail และ Password ถูกต้องแล้วแต่ยังเข้าไม่ได้ ให้แจ้งอาจารย์ประจำตำบล
ระบบที่ผู้ปฎิบัติงานใช้งาน
1.ระบบลงเวลา และระบบเขียนรายงาน ระบบนี้จะเป็นของ BRU
2. ระบบ TCP และ ระบบ BCG ระบบนี้เป็นของ กระทรวง อว.
App CBD ระบบใหม่ สามารถแก้ไข และลบข้อมูลได้ ในส่วนของอาจารย์ประจำตำบลสามารถทำได้ทุกอย่าง การลงข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง เช่น พิกัดของข้อมูลนั้น ให้เช็คข้อมูลให้ถูกต้อง
คู่มือการเข้าใช้งาน App CBD คือ bit.ly/bru-tcb

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าได้ทำการสำรวจราคาภาชนะที่จะนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ของเทียนหอม และเมื่อเปรียบเทียบสินค้าชนิดเดียวกันพบว่าร้านที่มีราคาถูกที่สุด ดังนี้
– ตลับอะลูมิเนียม ขนาด 100 กรัม ราคาตลับละ 12 บาท
– ขวดโหลแก้วใส่เทียน ขนาด 250 กรัม ราคากระปุกละ 45 บาท
– ถุงผ้าดิบแบบหูรูด ขนาด 5X7 นิ้ว ราคาพร้อมสกรีนลาย ราคาใบละ 19 บาท

และในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ลงพื้นที่บันทึกข้อมูล CBD ในพื้นที่รับผิดชอบ บ้านสี่เหลี่ยมน้อย หมู่ 9 และบ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้บันทึกข้อมูลอาทิเช่น ที่พัก/ โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น  สัตว์ในท้องถิ่นและพืชในท้องถิ่น เป็นต้น

กิจกรรมที่ต้องการดำเนินการต่อไป
1. สร้างแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อจำหน่ายทั้งตลาดออนไลน์และร้านค้าชุมชน
2. จัดการอบรมและรวมกลุ่มประชาชนในตำบลเพื่อทำผลิตภัณฑ์ต่อไป