โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยโครงการ U2T for BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเศรษฐกิจ BCG ครั้งใหญ่ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัด ทุกตำบลทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นระดมกำลังมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยนำองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ การเกิดธุรกิจใหม่ การขยายตัวทางธุรกิจ การเติบโตของการลงทุน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การเพิ่มการบริโภค เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 ในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน ก.ค. – ก.ย.นี้
รองศาสตราจารย์ สมบัติ ประจญศานต์ สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำแหน่งผู้ดำเนินกิจกรรม โครงการเพิ่มมูลค่าผ้ามัดหมี่ทอมือของกลุ่มทอผ้าตำบลสายตะกู ชายแดนไทยกัมพูชาเพื่อพึ่งพาตนเองในส่วนของตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาต่อยอดผ้าไหมจากเดิมที่เป็นผ้าไหมย้อมด้วยสีเคมีได้พัฒนาเป็นผ้าคลุมไหล่ทอมือ และผ้าทอมือสีธรรมชาติ เป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าไหมพื้นเมืองลายประยุกต์ ตำบลสายตะกูอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นโดยโดยกลุ่มวิสาหกิจทอผ้าไหมพื้นเมืองลายประยุกต์ ซึ่งมีประธานกลุ่ม คือ นางลำใย นุชเวช มีการทอผ้ามัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น มีการทอผ้าไหมหลากหลายประเภท เช่น ไหมลาว ไหมส่วย ไหมเขมรและได้มีการพัฒนามาทำผ้าคลุมไหล่ทอมือ โดยเน้นการย้อมสีจากวัสดุธรรมชาติเพื่อลดการใช้สีเคมีซึ่งเป็นพืชที่หาได้ในพื้นที่ตำบลสายตะกู แก่นฝาง ขมิ้น ดอกบัวแดง ใบแก้ ใบยางพาราเป็นต้น เพื่อให้มีสีที่หลากหลาย พืชบางชนิดไม่สามารถจับเส้นไหมได้โดยตรงอาจต้องมีตัวจับสี ได้แก่ สารสนิม เกลือ สารส้มและผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพารา เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นของคนในชุมชนตำบลสายตะกู ที่นำการแปรรูปจากใบยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ตำบลสายตะกู เนื่องจากเป็นแหล่งปลูกยางพารา นำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้จันทน์ ทำพวงหรีดที่ใช้ในการประดับงานศพเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้วายชนม์ เนื่องจากประชาชนในตำบลสายกู อำเภอบ้านกรวด มีอาชีพกรีดยางพาราเป็นส่วนมาก จึงจัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับประชาชนในพื้นที่ และเป็นการสร้างมูลค่าให้กับยางพาราให้เพิ่มมากขึ้น จัดทำเป็นกลุ่มอาชีพ วางแผนการเจาะกลุ่มตลาดกับองค์การบริหารส่วนตำบล และวัดในพื้นที่ เป็นต้น
การจัดกิจกรรม โครงการเพิ่มมูลค่าผ้ามัดหมี่ทอมือของกลุ่มทอผ้าตำบลสายตะกู ชายแดนไทยกัมพูชาเพื่อพึ่งพาตนเองในส่วนของตำบลสายตะกู
1.จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการตลาด ในวันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 8.30น.-16.30น. ณ อาคารโดม องค์การบริหารส่วนต าบลสายตะกู ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เชิญวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบัติ ดร.เอกพล แสงศรี ( อาจารย์การตลาด ) ภัคณิษา อภิศุภกรกุล ( อาจารย์การสื่อสารมวลชน ) อาทิตยา ลาวงศ์ ( อาจารย์การตลาด )
ได้เรียนการขายของผ่านแอพพลิเคชั่น tiktok และเทคนิคการไลฟ์ทาง facebookให้สินค้าขายดีสำหรับมือใหม่ การจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้น่าสนใจ
2. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากใบยางพารา ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 8.30น.-16.30 น. ณ ศาลากลางหมู่บ้าน 3 บ้านสายโท 11 เหนือสายตะกู ภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มอบอุปกรณ์การทำดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราให้กับกลุ่มในชุมชน ให้ความรู้ขั้นตอนการผลิตตั้งแต่เริ่มจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพารา