การจัดตั้งกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราและรายได้จากการขายดอกไม้จันทน์จากใบยางพารา

การจัดตั้งกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพารา

ดอกไม้จันทน์ ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเคารพและไว้อาลัยให้กับผู้วายชนม์ เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของดอกไม้จันทน์จะนำดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ส่วนมากนิยมทำจากวัสดุธรรมชาติ อาทิเช่น กระดาษสีที่ใช้ทำดอกไม้จันทน์โดยเฉพาะ หรือจะเป็นใบไม้ อย่างใบโพธิ์ ใบยางพารา ซังข้าวโพด เป็นต้น

ที่มาการรวมกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพารา ตำบลสายตะกู

การรวมกลุ่ม คือ การรวมตัวของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน เพื่อให้กิจกรรมนั้นบรรลุจุดหมายปลายทางตามวัตถุประสงค์ที่กลุ่มกำหนดไว้โดยที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วย

การรวมกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราของตำบลสายตะกู มีการตั้งกลุ่มขึ้นจากการจัดฝึกอบรมการทำดอกไม้จันทน์และพวงหรีดจากใบยางพารา ให้กับกลุ่มสตรีของทุกหมู่บ้านในตำบลสายตะกู ซึ่งจัดทำโครงการฝึกอบรมขึ้นโดยทีมกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน U2T รวมกับอาจารย์สมบัติ ประจญศาสนต์ และอาจารย์ประภาพันธ์ ศิริขันธ์แสง จากนั้นจึงเกิดการรวมตัวตั้งกลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราของตำบลสายตะกูขึ้น จำนวนทั้งหมด 4 กลุ่ม ได้แก่

  1. นางถ่ำ พะวัดทะ หัวหน้ากลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราประจำหมู่ที่ 14
  2. นางวรรณา อินสำราญ หัวหน้ากลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราประจำหมู่ที่ 2
  3. นางจันมณี สูงยาง หัวหน้ากลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราประจำหมู่ที่ 5
  4. นางเสวย สีหนาม หัวหน้ากลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราประจำหมู่ที่ 8

กลุ่มทั้งหมดนี้เป็นการรวมตัวและการคัดเลือกจากโครงการฝึกอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ในครั้งนี้ ซึ่งในการคัดเลือกและการรวมกลุ่มเกิดขึ้นจากความสมัครใจของประชาชนที่มาอบรมทุกท่าน จึงเกิดเป็นกลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากยางพาราของตำบลสายตะกูขึ้น

รายได้ของดอกไม้จันทน์และพวงหรีดจากใบยางพารา

รายได้ในการจำหน่ายดอกไม้จันทน์และพวงหรีดจากใบยางพารา เกิดจากการทดลองต้นแบบในโครงการฝึกอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราที่จัดขึ้น ซึ่งมีรายได้จากการจำหน่ายต้นแบบพวงหรีดที่สำเร็จแล้วในราคา พวงละ 250 บาท ให้แก่หัวหน้ากลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากใบยางพาราประจำหมู่ที่ 14 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 5 รวมเป็นเงินรายได้ทั้งหมด 1,000 บาท โดยเพื่อให้กลุ่มผู้ประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ได้นำต้นแบบไปเป็นแบบอย่าง และเพื่อการนำต้นแบบไปพัฒนาต่อยอดในอนาคต