ข้าพเจ้า นางสาวรัชนก มัตทะปะนัง ประเภท ประชาชน พื้นที่ปฏิบัติงาน ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ผู้ปฏิบัติงานได้ออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์  2 ผลิตภัณฑ์ คือ  ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเครื่องเคลือบดินเผา ออกแบบโดยการนำเอารูปแบบของเครื่องปั้นดินเผาโบราณของอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งนำมาพัฒนาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นแต่ยังคงเอกลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาไว้นั้นคือการแผงไปด้วยความเชื่อและมนต์ขลัง ทางทีมงานจึงได้ยกเครื่องปั้นดินเผาโบราณในกลุ่ม ประติมากรรมรูปสัตว์ เต้าปูนรูปสัตว์ และกระปุกนก ซึ่งได้แก่ เต้าปูนช้าง เต้าปูนกระต่าย กระปุกรูปนก นำมาออกแบบให้ทันสมัยมากขึ้นและย่อขนาดให้ดูเล็กกะทัดรัดพกพาง่าย และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเครื่องเคลือบดินเผา ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำมันผลิตและพัฒนาสร้างอาชีพให้แก่คนในตำบลหินลาด ออกแบบโดยใช้เอกลักษณ์และ อัตลักษณ์ของเครื่องเคลือบดินเผาโบราณ  มีรูปแบบและเทคนิคการการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีเซรามิกส์ สู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และ Brand สินค้า รวมถึงพัฒนาระบบการตลาดและการขายสินค้า ทั้งแบบ online/offline ซึ่งได้นำเอกลักษณ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณของอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ มาใช้ในการออกแบบเพื่อให้เกิดความสวยงามมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและนำมาออกแบบให้ร่วมสมัยมากขึ้นใช้งานได้จริง ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร มีผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ ถ้วย 3 ขนาด ขนาด 3 นิ้ว 5 นิ้ว และขนาด 7 นิ้ว จาน 2 ขนาด 5 นิ้ว และขนาด 7 นิ้ว

ในกระบวนการผลิตเซรามิกส์ การเคลือบ ถือเป็น กระบวนการที่สําคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความ สมบูรณ์สวยงามและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน การ กำหนดหรือเลือกชนิดของน้ำเคลือบที่จะนำมาใช้เคลือบ ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผานั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสม หลายประการ เช่น เป้าหมายการผลิตและความเหมาะสม ของเนื้อดินปั้น ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ดังนั้น ผู้ที่ สามารถกำหนดหรือเลือกชนิดของน้ำเคลือบที่จะนำมาใช้ เคลือบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาควรมีความรู้เบื้องต้น เรื่องน้ำเคลือบ จะต้องศึกษาทำความเข้าใจในเรื่องของ เคลือบในด้านต่าง ๆ ในบทนี้ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายของเคลือบ ประวัติความเป็นมาของเคลือบ วัตถุประสงค์ของการเคลือบผิวผลิตภัณฑ์ ชนิดของ เคลือบ วัตถุดิบที่ใช้ในการทำเคลือบ การเตรียมเคลือบ และวิธีการเคลือบชิ้นงาน จะทําให้สามารถปฏิบัติงาน เคลือบในงานเซรามิกส์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการนํา ไปใช้งาน

ความหมายของเคลือบ เคลือบ หมายถึง สารประกอบของซิลิเกตผสมกับ สารประกอบอย่างอื่นที่เป็นตัวช่วยหลอมละลาย ซึ่งอาจ จะมีออกไซด์ของโลหะผสมลงไปด้วย เพื่อทำให้เกิดสีและ ทึบในเคลือบนำมาเคลือบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ เมื่อเผาส่วน ผสมของนํ้าเคลือบถึงอุณหภูมิที่ทำให้หลอมละลายแล้ว น้าเคลือบจะหลอมละลายรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน และเมื่อ ทิ้งไว้ให้เย็นจะมีลักษณะเหมือนแก้วบาง 7 จานติดอยู่กับ ผิวผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ เคลือบเป็นแก้วไม่ดูดซึมน้ำ เคลือบบนผิวภาชนะมีความคงทนต่อแรงกระแทก มีความ แกร่ง ทนต่อกรดและด่างได้ดี ล้างทำความสะอาด และ สามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม

ประวัติความเป็นมาของเคลือบ เคลือบในงานเซรามิกส์ มีประวัติความเป็นมาที่ ยาวนาน ก่อนที่เรียนรู้เรื่องเคลือบเซรามิกส์ ผู้เรียนควร รู้ถึงความเป็นมาของเคลือบก่อน ซึ่งได้มีนักวิชาการ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเคลือบดังนี้ ไพจิตร กิ่งศิริวัฒน์ (2547 : 1 – 2) ได้กล่าวว่า ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 8,000 ปีก่อน คริสต์ศักราช มนุษย์ เริ่มอยู่เป็นหลักแหล่งรู้จักการ เพาะปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร หรือ ทำ เครื่องนุ่งห่ม มีหลัก ค้นพบว่า มนุษย์รู้จักทํา เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้เนื่องจากมนุษย์ในยุคนี้ต้องการ ภาชนะเพื่อใส่เมล็ดพันธุ์และหุงต้มอาหาร มนุษย์เป็นเผ่า พันธุ์เดียวที่กินอาหารปรุงแต่งซึ่งทำให้สุกเสียก่อน เครื่องปั้นดินเผา ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ถูกค้นพบเป็น จำนวนมาก พร้อมกับโครงกระดูกและสิ่งของมีค่าของ ผู้ตายในหลุม ฝังศพ มนุษย์ในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าผู้ ที่ตายไปแล้วจะได้มีภาชนะไว้หุงหาอาหารในกหภูมิ ต่อไป

เคลือบขี้เก้า (Ash Glaze) เคลือบขี้เก้านั้นเป็นเคลือบที่มีราคาถูก คือ ใช้สิ่งของที่ไม่มีประโยชน์นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ขี้เถ้าแกลบจากโรงสี ขี้เถ้าจากการเผาขี้เลื่อย หรือจากการเผาฟางข้าว เป็นต้น เคลือบขี้เก้าช่าง ชาวจีน รู้จักใช้น้ำ เคลือบขี้เก้าพืชนานกว่า 2,000 ปี มาแล้ว ในประเทศไทยก็รู้จักใช้กันมานานคือ การทําเครื่องสังคโลก สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ปัจจุบันนี้เราก็ยังใช้กันอยู่เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย และราชบุรี การเคลือบโอ่งมังกรจะใช้เคลือบขี้เก้าโดยใช้ขี้เก้าไม้เบญจพรรณ 3 ส่วนต่อ ดินเลนร่อง ผัก 7 ส่วน เผาเคลือบที่อุณหภูมิประมาณ 1,280 องศาเซลเซียส ขี้เถ้าพืชแต่ละชนิดมีผลทำให้ได้ เคลือบที่แตกต่างกัน ในขี้เถ้าพืชจะมีส่วนประกอบทางเคมีส่วนใหญ่คือซิลิกา อะลูมินา แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียมและเฟอร์ริกออกไซด์ สิ่งเหล่านี้จะแตกต่างกันแล้วแต่ละชนิดและ อายุของพืช

การเคลือบผลิตภัณฑ์ ก่อนการเคลือบควรนำผลิตภัณฑ์ที่เคลือบมาเช็ดด้วยผ้าหรือฟองน้ำหมาด ๆ หรืออาจใช้วิธีการ ล้างด้วยนํ้าสะอาด แต่ไม่ควรทําให้ผลิตภัณฑ์อิ่มตัวด้วยนํ้า การเพิ่มความชื้นในตัวผลิตภัณฑ์จะทําให้ ปริมาณของเคลือบบนผิวผลิตภัณฑ์เป็นไปอย่างพอเหมาะ ถึงแม้การเคลือบอาจจะจุ่มผลิตภัณฑ์ลงใน เคลือบนานเกินไปก็ตาม นอกจากนี้การเพิ่มความชื้นลงในตัวผลิตภัณฑ์ก่อนการเคลือบ ยังเป็น ประโยชน์ในการลดสาเหตุของการเกิดรูเข็ม เป็นการควบคุมความหนา และให้ความสม่ำเสมอของเนื้อ เคลือบบนผิวผลิตภัณฑ์ได้ดีอีกด้วย ปัจจัยสำคัญของการดูดซึมน้ำของผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้ ความพรุนตัวของเนื้อผลิตภัณฑ์ ความหนาของผลิตภัณฑ์ ความข้นและความสม่ำเสมอของน้ำเคลือบความชื้นที่มีอยู่ภายในเนื้อผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ถูกเผาสูงเกินกว่า 990 องศาเซลเซียส เกือบจะไม่มีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำเลย กรรมวิธีใน การเคลือบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาดิบแล้ว (Biscuite Ware) มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้ เคลือบด้วยวิธีการใช้แปรงหรือพู่กัน เป็นวิธีที่ง่ายสำหรับผู้ที่เริ่มต้นหัดเคลือบ เคลือบด้วยวิธีชุบหรือจุ่ม (Dipping) การเคลือบ ด้วยวิธีนี้ทำได้รวดเร็วและง่ายกว่าวิธีอื่น เคลือบด้วยวิธีพ่น (Spraying) วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้ได้เคลือบที่สม่ำเสมอ