ข้าพเจ้านางสาวอรุณรัตน์ การกระสัง ประเภทประชาชน ตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์  ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการปฏิบัติงานเดือนสิงหาคมข้าพเจ้าและทางทีมงานได้นำแนวคิดและแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดือนกรกฎาคมมาต่อยอดเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นออกมาสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยในเดือนสิงหาคมนี้ข้าพเจ้าและทางทีมงานได้ลงพื้นที่ไปที่หมู่ที่ 10 บ้านสก๊วน ตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วยพร้อมทั้งให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาที่พบในการทำผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย และจากความร่วมมือของทางทีมงาน อาจารย์และชาวบ้านทำให้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการแก้ไขนั้นออกมาสมบูรณ์สวยงามมีมารตรฐานสามารถวางขายในท้องตลาดได้ ยกตัวอย่างผลิตภัฑ์ที่ทางทีมงานได้ทำขึ้นนั้นได้แก่ กระเป๋า ที่รองแก้ว

 

ผลิตภัณฑ์ชิ้นที่ 2 ของเราคือเมี่ยงคำกล้วย (KAMFLAKES) เป็นผลิตภัณฑ์อีกชิ้นที่วัตถุดิบหลักผลิตจากกล้วยซึ่งหาได้ง่ายและมีอยู่จำนวนมากภายในชุมชน ในส่วนของเมี่ยงคำนั้นได้ผลิตออกมาในรูปแบบที่สามารถทานได้ง่ายโดยการใช้กล้วยเป็นฐานและวางตัวเมี่ยงคำลงไปด้านบน การผลิตออกมาในรูปแบบนี้ทำให้เมี่ยงคำสามารถทานได้ง่ายมากขึ้น สามารถทานเป็นของทานเล่นได้ ไม่ว่าจะวัยไหนก็สามารถทานได้ ข้าพเจ้าและทางทีมงานได้วางแผนเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่จะนำมาบรรจุเมี่ยงคำลงไปเพื่อความสวยงามและกันความชื้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ KAMFLAKES ของเรานั้นสมบูรณ์และได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะสามารถนำไปวางขายในท้องตลาดและสร้างอาชีพรายได้ให้กับคนในชุมชนต่อไป