ข้าพเจ้านางสาวชนัดดา สมสะอาด ประเภทประชาชน ผู้ปฏิบัติงานของผู้รับจ้างประจำตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ทำงานภายใต้โครงการ
ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

  • หมู่บ้านสมจิต ตำบลโคกว่าน จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่ราบภูเขาไฟเขาอังคารที่ดับสนิทแล้ว จึงทำให้ดินในบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์อุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด อีกทั้งบริเวณตำบลโคกว่านเป็นบริเวณที่สามารถระบายน้ำได้ดี ส่งผลให้เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ พืชผักสวนครัวชนิดต่างๆ ที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งอาหารและเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงประชาชนบ้านสมจิตได้มาอย่างยั่งยืน ชุมชนบ้านสมจิตรตำบลโคกว่านนำจุดแข็งด้านทรัพยากรที่ตัวเองมีบวกกับความขยันของคนในชุมชนมาเป็นจุดเริ่มต้นในการผลิตข้าวตอก ข้าวพอง กระยาสารท และไข่เค็มลาวา ในเบื้องต้นคนในชุมชนได้มีการทดลองการทำและใช้เวลาในการปรับปรุงให้เข้ากับแผนธุรกิจที่จัดไว้โดยใช้วิถีและวัฒนธรรมชุมชนเป็นพื้นฐานจนเกิดความสำเร็จ สะสมประสบการณ์ องค์ความรู้จนเกิดความชำนาญจนเกิดมาเป็นรูปแบบวิสาหกิจชุมชนตามวิถีวัฒนธรรมของบ้านสมจิตร จนเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้ซื้อผู้ขายมากขึ้น ดังนั้นบ้านสมจิตรจึงต้องมีมาตรฐานและรักษามาตรฐานการผลิตให้เป็นเอกลักษณ์และวิถีชุมชนไว้ การสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือการเพิ่มการผลิตวิสาหกิจชุมชนนั้นควรจะต้องคำนึงถึงการสร้างมาตรฐานการผลิตความสดความสะอาดปลอดภัยให้มีมาตรฐานรองรับเช่นมาตรฐานของอย. เพื่อเป็นการยกระดับการแข่งขันเพิ่มตลาด แต่อาจจะต้องลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรให้แก่รัฐวิสาหกิจชุมชน อีกทั้งปรับปรุงอาคารโรงเรือนการป้องกันฝุ่นละออง หรือเสียงที่มารบกวนเพื่อนบ้าน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการผลิตต่างๆหรือนำองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนการตลาดออนไลน์ บรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามน่าซื้อขาย ได้มาตรฐาน มีแรงงานให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นำมาพัฒนาเพิ่มมาตรฐานและขีดความสามารถในการผลิตเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
  • โดยมีการดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้ร่วมกันวางแผนปรึกษาหารือกับทีมงานเพื่อดำเนินการลงพื้นที่ศึกษาหาข้อมูลในการค้นหาผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่เป็นจุดเด่นของตำบลโคกว่าน
    วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้ลงพื้นที่สำรวจในพื้นที่ตำบลโคกว่านว่ามีผลิตภัณฑ์ไหนที่เป็นที่น่าสนใจในชุมชน ได้ค้นพบว่ามีหมู่บ้านที่ ทำกระยาสารท ข้าวตอก ข้าวพอง จักรสาน และไข่เค็มลาวา เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ จึงสอบถามข้อมูลเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์มาพัฒนาต่อไป
    วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าร่วมรับฟังการประถมนิเทศและข้อมูลที่สำคัญสำหรับการปฎิบัติงานในโครงการผ่าน YouTube Live ในเวลา 09:00 น.
    วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้มีการวางแผนกับอาจารย์ประจำตำบล โดยร่วมกันเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์ ดังต่อไปนี้
    – กระยาสาท พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น กระยาสาทแบบซอง ที่มีลักษณะของข้าวพองผสมกับถั่วและงา (ไม่เคี่ยวน้ำตาลให้เหนียว) ใส่ซองสามารถฉีกรับประทานได้
    – ไข่เค็ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น ไข่แดงเค็มแบบผง ในซองขนาดเล็ก สำหรับโรยเพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร เช่น โรยโจ๊ก โรยโอศครีม เป็นต้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
    วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ได้เข้าร่วมการอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูลที่ TCD
    วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เลือก เพื่อเจาะลึกข้อมูลเพื่อนำเสนอให้อาจารย์ประจำตำบลได้รับทราบข้อมูลและกรรมวิธีในการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
    วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 นำเสนอผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลโคกว่าน โดยได้แบ่งกันนำเสนอแต่ละส่วน ได้เสนอในส่วนของกรรมวิธีการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่เลือกมา2ชนิด
    วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับสถานที่ผลิตเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการขอ อย. เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มี
    มาตรฐานและรักษามาตรฐานการผลิต เพื่อพัฒนาให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพเหมาะกับการซื้อขายเป็นของฝากสร้างรายได้ลดรายจ่ายให้ชุมชนตำบลโค่กว่านต่อไป
  •  โดยส่วนใหญ่แล้วคนในชุมชนตำบลโคกว่านจะประกอบอาชีพทำนา เกษตรกร ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก นอกจากอาชีพหลักแล้วคนในท้องถิ่นจะประกอบอาชีพเสริมภายในครัวเรือนเพื่อให้มีรายรับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาชีพเสริมการทำไข่เค็มลาวา และการทำกระยาสารท เป็นอาชีพเสริมที่น่าสนใจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งจัดจำหน่ายภายใต้เขตพื้นที่และในพื้นที่ใกล้เคียงและจะมีผู้ค้าจากถิ่นอื่นมารับซื้อสินค้าเพื่อนำไปบริโภคหรือจำหน่ายต่อ ซึ่งไข่เค็มลาวาและกระยาสารท จึงเป็นรายได้ที่ครอบครัวและ ชุมชนได้มีรายได้เพิ่มขึ้นลดการโยกย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นหากได้รับการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นจากรายได้เสริมอาจเป็นรายได้หลักที่มั่นคงให้กับครอบครัวและชุมชนของตนได้ต่อไป