การลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลของชาวบ้าน ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง
จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
วันที่4ก.ค.65
ช่วยงานอาจารย์ประจำตำบล จัดเรียงเอกสารและลงข้อมูลของผู้สมัครU2T อยู่ที่ห้องคณบดี ตึก24 คณะวิทยาการจัดการ

ผู้ปฏิบัติงาน และทีมได้ลงพื้นที่ ณ ศูนย์ยุติธรรมชุมชน อบต. ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถามเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับรายละเอียดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์มี 7 หมู่ด้วยกัน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านหนองกก
หมู่ที่ 2 บ้านส้มป่อย
หมู่ที่ 3 บ้านน้อยสะแกกวน
หมู่ที่ 4 บ้านโคกตะแบง
หมู่ที่ 5 บ้านโคกกรวด
หมู่ที่ 6 บ้านหนองสะแกกวน
หมู่ที่ 7 บ้านโคกตะคร้อ

วันที่ 5 ก.ค. 65
เวลา 10.50 น. ผู้ปฏิบัติงาน และทีมได้ลงพื้นที่บ้านโคกตะคร้อ หมู่ที่ 7 ได้มีการสอบถามจาก นายสมนัด แก้วกำกง ผู้ใหญ่บ้าน ได้ให้ข้อมูลว่าในหมู่ 7 มีผลิตภัณฑ์เป็นกล้วยฉาบ กล้วยสอดใส้สับปะรด กล้วยสอดใส้สตอเบอร์รี่ และปลาร้าบอง ปัญหาที่พบ คือ ทุนในการทำการผลิต ผู้ใหญ่บ้านแจ้งว่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำมีพร้อมใช้งาน แต่ไม่มีทุนในการจัดซื้อวัตถุดิบ เช่น น้ำมันพืช กล้วย สับปะรด สตอเบอร์รี่ และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
เวลา 11.20 น. ผู้ปฏิบัติงาน และทีมได้ลงพื้นที่บ้านโคกตะแบง หมู่ที่ 4 ได้มีการสอบถามจาก นายธีระวัฒน์ มากนาคา ผู้ใหญ่บ้าน ได้ให้ข้อมูลว่าในหมู่ 4 มีการเลี้ยงโคกระบือ เลี้ยงไก่ไข่ ข้าวพันธุ์ดี และปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณธัญชนก ตัวแทนกลุ่มปุ๋ยหมักอินทรีย์ ว่าทางกลุ่มยังมีการดำเนินการทำปุ๋ยหมักจากขี้วัวอยู่เรื่อย ๆ และมีแผนที่จะทำเป็นปุ๋ยอัดเม็ด แต่เนื่องด้วยเครื่องอัดเม็ดมีปัญหา ไม่มีทุนในการซ่อมแซม จึงไม่ได้มีการดำเนินงานต่อ แต่มีความยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการกับเรา
เวลา 11.40 น. ผู้ปฏิบัติงาน และทีมได้ลงพื้นที่บ้านหนองกก หมู่ที่ 1 ได้มีการสอบถามจาก คุณสุรดา อยู่รัมย์ ตัวแทนกลุ่มข้าวอินทรีย์ ซึ่งได้ข้อมูลว่าในหมู่ 1 มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับข้าวอินทรีย์ มีใบรับรองมาตรฐานของกรมการข้าว และได้เคยคุยกับทางอาจารย์ที่เคยมาติดต่อแล้วเรื่องการแปรรูปข้าวอินทรีย์ให้เป็นแป้งหรือทำเป็นด็องแด๊ง แต่เมื่อนำเรื่องเข้าประชุมกับกลุ่มข้าวอินทรีย์แล้ว ทางกลุ่มยังไม่สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากกลัวว่าจะไม่มีเวลาเข้ามาร่วมทำผลิตภัณฑ์
เวลา 12.00 น. ผู้ปฏิบัติงาน และทีมได้ลงพื้นที่บ้านน้อยสะแกกวน หมู่ที่ 3 ได้มีการสอบถามจาก คุณเบญจวรรณ ไชยสุวรรณ ตัวแทนกลุ่มท้อผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งได้ข้อมูลว่าในหมู่ 3 ชาวบ้านมีการเลี้ยงไหมเอง ทำผ้าซิ่น ทำผ้ามัดหมี่ และมีการสอนกลุ่มนักเรียนสาวไหมเพื่อส่งประกวด ปัญหาที่พบ คือ ทำผลิตภัณฑ์แล้วขายไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด

 

วันที่ 6 ก.ค. 65
ทำ PowerPoint C01 ของ 2 ทั้งผลิตภัณฑ์ คือปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และวัสดุเพาะพืชที่ย่อยสลายได้ จะมีข้อมูลดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์,ด้านบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า,ด้านคุณภาพ/มาตรฐานและด้านการตลาด