MS17-2 ลงพื้นที่ค้นหาผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

          ข้าพเจ้า นางสาวลดาวรรณ จันทร์รุ่ง ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิต MS17-2 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and regional Development)


ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์เพื่อร่วมพูดคุยปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นของคณะทำงานและอาจารย์ที่ปรึกษาประจำหลักสูตร ได้ชี้แจงการปฏิบัติงานภายในเดือนสิงหาคม หลังจากร่วมพูดคุยได้มีการมอบหมายให้ทดลองผลิตภัณฑ์ที่ร่วมกันคิดค้นและกลับมาทดลองทำด้วยตัวเอง และได้มีการประชุมพบปะเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ทดลองทำ วิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดีข้อเสีย คัดเลือกเป็นแนวทางในการทดลองที่ดีและมีคุณภาพที่สุด

หลังจากนั้นคณะทำงานได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์มาหลากหลายรูปแบบ เพื่อคัดกรองหาจุดดีของแต่ละแบบมามิกซ์เพื่อสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ครั้งต่อไปให้ดีกว่าเดิม

ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทางคณะทำงานเลือกหยิบยกมาแปรรูปต่อยอดก็คือ ฟางข้าว” เนื่องจากฟางข้าวเป็นวัสดุจากธรรมชาติและหาได้ง่ายจากชุมชน เพราะแหล่งชุมชนที่คณะทำงานได้ลงพื้นที่นั้นมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร จึงทำให้ฟางข้าวหาได้ทั่วไปในชุมชน โดยจุดประสงค์ที่ต้องการนั้นคือการมุ่งเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการ “ทำแผงไข่จากฟางข้าว” ได้ต้นแบบมาจากแผงไข่กระดาษตามท้องตลาดแต่ได้ทำการดัดแปลง เป็นลักษณะสไตล์สินค้า Handmade และ “กระถางต้นไม้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ที่ปลูกต้นไม้ได้และเมื่อต้นไม้โตขึ้นสามารถฝังลงดินได้ทั้งกระถาง ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดเป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ฟางข้าว และ ขี้เลื่อย เป็นหลัก

ได้มีการมอบหมายหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มและทำการนัดหมายลงพื้นที่ ไปยังบ้านสำโรง หมู่ 1 ตำบลสำโรง อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นบ้านของสมาชิกในคณะทำงานเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ของชำร่วยจาก “ฟางข้าว” และ “มะละกอแก้ว”

โดยมีวิธีทำดังนี้ 

1.แผงไข่จากฟางข้าว

วัสดุที่ต้องเตรียม

  • ฟางข้าว
  • โซดาไฟ
  • แป้งมัน
  • หม้อหรือปี๊บภาชนะที่ใช้ในการต้ม
  • ภาชนะขึ้นรูปตามต้องการ เช่น แผงไข่
  • เครื่องปั่น
  • ซีนแรปอาหาร (ใช้ในขั้นตอนขึ้นรูปเพื่อให้ไม่ติดกับภาะชนะและทรงสวย *จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้*)

วิธีทำ

  1. นำฟางข้าวที่เตรียมไว้มาต้มในน้ำเดือด
  2. เติมโซดาไฟเล็กน้อยเพื่อให้ออกฤทธิ์กัดกร่อน ให้ฟางข้าวเปลื่อยยุ่ย
  3. คอยคนและสังเกตดูเมื่อฟางข้าวเริ่มเปื่อยยุ่ยให้ตักออกพักสะเด็ดน้ำแล้วนำไปล้างน้ำเปล่า
  4. เมื่อล้างน้ำเสร็จให้นำมาปั่นโดยใช้เครื่องปั่นให้ละเอียดพอประมาณ
  5. นำออกมาใส่ภาชนะแล้วต้มอีกครั้งแล้วจึงเติมแป้งมันสำปะหลังลงไปจนให้แป้งมันสุก(เพราะแป้งมันเมื่อแห้งแล้วมีคุณสมบัติยึดเกาะจะทำให้เมื่อแห้งแล้วขึ้นรูปเป็นทรงได้สวยงาม)
  6. จากนั้นพักให้เย็นแล้วนำมาขึ้นรูปตามภาชนะที่ต้องการจากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง

 

2.กระถางต้นไม้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัสดุที่ต้องเตรียม

  • ฟางข้าว
  • ขี้เลื่อย
  • กากมะพร้าว
  • ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลสัตว์
  • แป้งมันสำปะหลัง

วิธีทำ

  1. นำฟางข้าวต้ม (ฟางข้าวต้มขั้นตอนเดียวกับการทำแผงไข่) มาใส่ส่วนผสมโดย ใส่ฟางข้าวต้ม 50% ขี้เลื่อย 10% กากมะพร้าว 10% ปุ๋ยคอก 5% และแป้งมันสำปะหลัง 20%
  2. เติมน้ำนิดหน่อยและใช้ความร้อนต้มต่อจนแป้งสุก
  3. นำออกมาพักให้เย็นแล้วขึ้นรูปด้วยภาชนะรูปทรงต่างๆตามต้องการ แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท
  4. ฉีดสเปรย์เคลือบเงาให้ดูสวยงาม

 

3.มะละกอแก้ว

วัสดุที่ต้องเตรียม

  • มะละกอดิบ 7-8 ขีด
  • น้ำตาล ½ กิโลกรัม
  • สีผสมอาหาร กลิ่นสังเคราะห์
  • น้ำปูนใส
  • เกลือ

วิธีทำ

  1. นำมะละกอดิบที่หาได้มาปอกล้างน้ำให้สะอาด และหั่นบางลักษณะตามใจชอบ
  2. นำไปแช่น้ำปูนใสอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มะละกอแข็งตัวไม่เปื่อยยุ่ยหรือเละเมื่อถูกความร้อน เมื่อครบเวลาให้ตักออกมาล้างน้ำแล้วพักให้สะเด็ดน้ำ
  3. เติมน้ำลงกระทะนิดหน่อย ใส่น้ำตาลทรายขาวเเคี่ยวไฟอ่อนจนน้ำตาลเริ่มละลายจากนั้นใส่มะละกอที่เตรียมไว้ลงไปเคี่ยวต่อ แล้วเติมเกลือนิดหน่อยเพื่อตัดรสชาติ
  4. คอยคนอยู่ตลอดเพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้ เติมสี กลิ่นตามสูตร หรือตามใจชอบ จากนั้นเคี่ยวต่อจนน้ำตาลแห้งตกผลึก
  5. นำมาตากแดด หรืออบด้วยความร้อนต่อเพื่อให้มะละกอแก้วแห้งสนิท บรรจุใส่ถุงหรือจัดใส่จานพร้อมเสิร์ฟ

ซึ่ง “มะละกอแก้ว” นั้นก็เป็นไอเดียการแปรรูปผักผลไม้ในชุมชนเช่นเดียวกัน ซึ่งเล็งเห็นถึงการนำของที่มีอยู่ทั่วไปในชุมชนมาแปรรูป เพิ่มรสชาติ เพิ่มมูลค่า เพื่อได้เป็นอาหารทานเล่นอีกชนิดนึงได้