การปฎิบัติงานในเดือนกรกฎาคม

  • เข้าร่วมประชุม รับฟังข้อมูลการปฎิบัติงานของกลุ่มตำบล ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสโลป ชั้น 2 อาคาร 24 คณะวิทยาการจัดการ
  • จัดทำแบบฟอร์ม C-10 ข้อเสนอโครงการ และข้อมูลผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ power point นำส่งให้อาจารย์ประจำตำบลได้ช่วยพิจารณาตรวจสอบ ภายในวันที่ 6 กรกฎาคม 2565
  • เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศ และข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ผ่าน YouTube Live วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 9.00 น.
  • ประชุมอาจารย์ประจำตำบลและผู้ปฎิบัติงาน เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และความเห็นชอบแบบมีส่วนร่วมของผู้ปฎิบัติงาน ด้วยการวิเคราะห์ SWOT ในการค้นหาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ผ่าน Google Meet ในวันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น

จากการลงพื้นที่สำรวจตำบลบ้านปรือเพื่อการค้นหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน พบว่าประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์เพื่ออุปโภคบริโภค และมีการทำประมงหาปลาในทำนบเพื่อใช้เป็นอาหาร พืชในครัวเรือนที่นิยมปลูก ส่วนมากจะเป็นพืชสมุนไพร และยังพบว่าในชุมชนยังมีต้นมะเฟืองอยู่มาก

    

จึงได้ประชุมกันเพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ

  1. มะเฟืองแช่อิ่มอบแห้ง
  2. สลีปปิ้งมาสก์ขมิ้น

โดยสรรพคุณและที่มาของผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่างมีดังนี้

1. มะเฟือง มะเฟืองเป็นพืชท้องถิ่นที่มีอยู่มากในเขตพื้นที่ตำบลบ้านปรือคนไทยส่วนใหญ่มักรู้จักมะเฟืองในฐานะผลไม้เป็นหลัก แต่อันที่จริงแล้วมะเฟืองเองนั้นยังมี มีคุณประโยชน์มากมายอาทิ ระงับความร้อน ดับกระหาย แก้อาเจียน ขับเสมหะ ขับปัสสาวะอีกด้วย เเต่ด้วยจำนวนมะเฟืองที่มีอยู่มากอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งสวนทางกับความต้องการของคนในพื้นที่ จึงทำให้เกิดการเน่าเสียของมะเฟืองเป็นอย่างมากก่อให้เกิดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมส่ส่งกลิ่นเน่าเสียคละคลุ้งไปทั่วบริเวณเป็นอย่างมากอีกอีกครั้งยังเป็นแหล่งก่อเชื้อโรคโดยพาหะเป็นแมลงวันและแมลงหวี่เป็นต้น คณะผู้ทำงานจึงเห็นว่าควรมีการจัดการปัญหาในส่วนนี้อย่างเร่งด่วนโดยการสร้างมูลค่าให้กับมะเฟืองโดยการนำมาเป็นผลไม้แช่อิ่มสามารถช่วยลดปัญหาการส่งกลิ่นเน่าเสียของมะเฟืองในพื้นที่และยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย

2. ขมิ้นชัน  ขมิ้นชันถือเป็นพืชที่คนไทยใช้เป็นสมุนไพรมาตั้งแต่อดีตโดยส่วนใหญ่ใช้เงาของขมิ้นมาทำเป็นยาพื้นบ้านรักษาโรคปรุงอาหารปัจจุบันมีการนำขมิ้นมาใช้ประโยชน์ในหลายด้านอาทิเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ ผลิตเป็นแคปซูลรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ในเง้าของขมิ้นชันจะแสดงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอยู่ 2 ชนิดคือน้ำมันหอมระเหยและสารเคอร์คิวมินอยด์ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบและต้านจุลินทรีย์เป็นต้น จึงทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านปรือได้เห็นความสำคัญของขมิ้นชันที่มีอยู่มากในท้องถิ่นจึงได้นำมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำมาทำเป็นสครับขัดผิวนมขมิ้นซึ่งได้กระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค มียอดการสั่งจองและสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านปรือจึงเห็นว่าควรต่อยอดผลิตภัณฑ์สมุนไพรผลิตภัณฑ์นี้ให้มีความโดดเด่นและทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อผู้บริโภคในมิติอื่นๆจึงได้เห็นว่าควรต่อยอดสครับขัดผิวนมขมิ้นเป็นสลีปปิ้งมาร์คนมขมิ้นใช้ในการพอกและมาร์คหน้า เพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นเหตุทำให้เซลล์ในผิวเกิดการทำลาย และยังทำให้หน้าใส่ชุ่มชื้นอ่อนกว่าวัยอีกด้วย