ดิฉัน นางสาวสุพัชชา สอนรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้จ้างงานของตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) การปฎิบัติงานประจำเดือนกันยายน 2565

วันที่ 3 กันยายน 2565 ลงพื้นที่บ้านบุ หมู่ 11 ตำบลลำดวน ให้ความรู้กับแม่ๆกลุ่มทอผ้าไหมบ้านบุ เกี่ยวกับการถ่ายภาพ promote ผ้าไหม และสอนวิธีการถ่ายภาพผ้าไหมเพื่อโพสต์จำหน่ายในโซเชียลมิเดีย และร่วมกันตั้งชื่อลายผ้าไหมที่ทีมปฏิบัติงานผการันรูล ได้ออกแบบลายอัตลักษณ์ เพื่อที่จะได้จดลิขสิทธิ์เป็นลายเอกลักษณ์ประจำตำบลลำดวนอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 5 กันยายน 2565 ลงพื้นที่ศูนย์กศน.ตำบลลำดวน ผู้ปฏิบัติงาน U2T เข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่ และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและสร้างเครือข่าย ทำงานในพื้นที่ชุมชนโดยศึกษารายละเอียด จากใบ ความรู้ เพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน ศส.ปชต. จะเป็นศูนย์กลางหรือศูนย์รวมของพลเมือง ในการทำกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา ประชาธิปไตยในตำบล หมู่บ้าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ขึ้นอยู่กับการทำงานของ กก.ศส.ปชต. ที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีภารกิจดังนี้

1.การบริหารจัดการศูนย์ กก.ศส.ปชต. ควรทำหน้าที่บริหาร ศส.ปชต. ให้มีความพร้อมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นที่ยอมรับของประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เช่น มีการจัด ประชุม กก.ศส.ปชต. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการทำงาน มีการประสานและบูรณาการแผนงานกับผู้นำกลุ่มองค์กรเครือข่ายรวมทั้งอาสาสมัคร หน่วยงานในพื้นที่ เป็นต้น

2.ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย กก.ศส.ปชต. มีหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย สร้างจิตสำนึก ความเป็นพลเมืองแก่ประชาชน ให้เห็นประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม ต่อต้านพฤติกรรมทุจริตและคอรัปชั่น และการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยสามารถดำเนินการให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ

3.ขยายเครือข่ายพลเมือง กก.ศส.ปชต. ไม่อาจปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จโดยลำพัง จำเป็นต้องมีเครือข่ายกว้างขวางครอบคลุม เข้าร่วมในการปฏิบัติงานจะได้เข้าถึงในทุกพื้นที่ และมีความต่อเนื่อง

4.ส่งเสริมหมู่บ้าน/ชุมชนประชาธิปไตย ผู้นำชุมชนและประชาชน ในชุมชนต้องทำให้เห็นว่า หมู่บ้าน ตำบลของตน มีความสามารถในการบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยพลังพลเมืองในชุมชน

5.ส่งเสริมกิจกรรมประชาธิปไตย มีหน้าที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล เช่น ชุมชนมีปัญหาเรื่องใด ก็ควรมีความระดมความคิดเห็นจากสมาชิก เสนอแนวทางการแก้ไขที่มาจากความคิดเห็นพ้องต้องกัน

6.มีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง รณรงค์ให้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง รณรงค์ป้องกันการทุจริตซื้อสิทธิขายเสียง การสมัครเป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) เป็นต้น


วันที่ 8 กันยายน 2565 ลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย ศาลาบ้านกระเจา ร่วมกับกรรมการศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (กก.ศส.ปชต.) ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่ชาวบ้าน และระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำสรุปรายงานผลจากการลงพื้นที่ และรวบรวมรายงานตามแบบ ในประเด็นดังนี้

1.บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจ และสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน

2.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่

3.การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกระดับลักษณะของผู้แทนทางการเมือง ที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร

4.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

วันที่ 15 – 18 กันยายน 2565 กิจกรรมจัดบูธขายผลิตภัณฑ์สินค้าที่แต่ละตำบลได้พัฒนาขึ้นมา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์