โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG and Regional Development) หรือ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG)

 

ชื่อบทความ : MS09-1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์บานาน่าสติ๊กและคุกกี้กล้วยตากจากกล้วยน้ำว้า ชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ.2565

 

ชื่อเจ้าของบทความ : นายทรงพล หวานใจ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนทั่วไป

อาจารย์ประจำโครงการ : อาจารย์จงกล ศิริประภา หัวหน้าโครงการ, ดร.อรุณรัศมี แสงศิลา คณะทำงาน และ อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร คณะทำงาน

 

หลักสูตร : MS09-1 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้าเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

รายละเอียดการดำเนินงานในเดือนสิงหาคมมีดังนี้

ข้าพเจ้านายทรงพล หวานใจ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 14/1 หมู่ 2 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัย์ เป็นหนึ่งในคณะทำงานในภาคประชาชนในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด U2T for BCG ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ จงกล ศิริประภา เป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ประจำโครงการประกอบด้วย ดร.อรุณรัศมี แสงศิลาและอาจารย์เพียรพรรณ ศุภะโคตร

ภายในเดือนสิงหาคมกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ บานาน่าสติ๊กและคุุกกี้กล้วยตาก โดยบานาน่าสติ๊กได้เปลี่ยนชื่อมาจาก กล้วยหนึบ เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น และได้พัฒนาคุกกี้กล้วยตากจากบานาน่าสติ๊กที่ตกเกรดเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดโดยไม่ทิ้งหรือเป็นของเหลือที่ไม่ได้ใช้

สมาชิกในกลุ่มได้เดินทางไปยังสวน ลุงไพร เพื่อไปคัดเลือกกล้วยน้ำว้าที่ใกล้สุกแล้ว เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

ปัญหาที่พบในการปฏบัติในเดือนนี้ ด้วยสภาพอากาศเข้าช่วงฤดูฝนทำให้การผลิตกล้วยตากและกล้วยม้วนไม่สามารถทำได้เต็มที่เท่าที่ควร เพราะฝนตกและแสงแดดน้อย จึงทำการปรับเปลี่ยนมาทำกล้วยบานาน่าสติ๊กเป็นส่วนมาก