โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

(U2T for BCG and Regional Development) หรือ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG)

 

ชื่อบทความ : MS09-1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์บานาน่าสติ๊กและคุกกี้กล้วยตากจากกล้วยน้ำว้า ชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2565

ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวปัทมา สุดตา ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน

อาจารย์ประจำโครงการ : อาจารย์จงกล ศิริประภา หัวหน้าโครงการ, ดร.อรุณรัศมี แสงศิลา คณะทำงาน และ อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร คณะทำงาน

หลักสูตร : MS09-1 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้าเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

 

ข้าพเจ้านางสาวปัทมาสุดาอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ 4 บ้านใหม่ตำบลสวายจีกอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์เป็นหนึ่งในคณะทำงานในภาคประชาชนในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดU2T for BCGตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
โดยมีอาจารย์จงกล ศิริประภาเป็นหัวหน้าโครงการและอาจารย์ประจำโครงการประกอบด้วยอาจารย์ ด.ร.อรุณรัศมี แสงศิลาและอาจารย์เพียรพรรณ ศุภะโคตร

รายละเอียดในการดำเนินงานในเดือนกันยายนมีดังนี้

ข้าพเจ้าและสมาชิกในกลุ่มและคณะอาจารย์ในตำบลสวายจีกร่วมประชุมวางแผนและเก็บข้อมูลECT WEEKร่วมกับ ก.ศ.น.ตำบลสวายจีกระหว่างวันที่ 5-9 กันยายน 2565
บทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศส.ปชต.รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชน
มีการจัดประชุมผู้นำชุมชน ก.ศ.น.เพื่อให้ความรู้การทำหน้าที่พลเมืองตามระเบาะประชาธิปไตยการรณรงค์ให้ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมECTข้าพเจ้าและทีมงานพร้อมทั้งอาจารย์ประจำตำบลสวายจีกได้ประชุมวางแผนเกี่ยวกับการจัดแสดงบูธสินค้าที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2565ซึ่งในส่วนของสินค้าที่จัดแสดงนั้นได้แก่คุกกี้กล้วยตากและ บานาน่าสติ๊กซึ่งทีมงานได้ร่วมกันแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อมาจัดแสดงและขายในงานรับปริญญาระหว่างวันที่ 15-18 กันยายน 2565 จากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบลภายใต้โครงการU2T for BCG เราได้นำสินค้ามานำเสนอและจำหน่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมงานในงานรับปริญญาที่มหาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้รู้จักทั่วๆกัน