ข้าพเจ้า นางสาวปิยดา เอี่ยมศรี ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิต ประจำตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) 

ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล TCD ประจำตำบลส้มป่อย โดยมีหัวข้อการเก้บข้อมูลดังต่อไปนี้

  1. ผู้ที่ย้านกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
  2. แหล่งท่องเที่ยว
  3. ที่พัก/โรงแรม
  4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. อาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น
  6. เกษตรกรในท้องถิ่น
  7. พืชในท้องถิ่น
  8. สัตว์ในท้องถิ่น
  9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

จากการลงพื้นที่สำรวจนั้นทำให้ทราบและเห้นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น โดยในแต่ละครัวเรื่อนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี

ต่อมาทีมผู้ปฏิบัติงานได้วางแผนและร่วมมือกับชาวบ้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกตะแบงผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ขึ้นมาจำนวน 1 ตัน โดยสถานที่ใช้ทำคือ ศาลาประชาคมหมูที่ 4 บ้านโคกตะแบง โดยมีวิธีการทำคร่าวๆคือการนำมูลสัตว์ (ขี้วัว) ที่ชาวบ้านมี นำมาผสมกับส่วนประกอบต่างๆที่ใช้ในการทำปุ๋ย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำผ้าใบมาคลุมปิดไว้ โดยจะใช้เวลาประมาฌ 15-20 วัน โดยทีมงานและชาวบ้านต้องมาช่วยกันกลับปุ๋ยเพื่อให้ส่วนผสมเข้ากันมากขึ้น โดยกลับปุ๋ยอาทิตย์ละ  1  ครั้ง

 

 

 

 

 

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. ทีมผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำตำบลได้จัดประชุมชาวบ้านเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก และเพื่อแปรรูปใช้เป็นปุ๋ยอัดเม็ดต่อไป โดยมีอาจารย์อนงค์  ทองเรือง และอาจารย์ปัทมาวดี  วงษ์เกิด ได้เป็นวิทยากรให้ความรู้และแนวทางในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้ดำเนินการไปในทางเดียวกันและร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตำบลให้เกิดรายได้ขึ้นมา โดยได้รับเกียรติจากท่านนายกอบต.ส้มป่อย และเจ้าหน้าที่อบต.ส้มป่อย เข้าร่วมประชุมด้วย