ข้าพเจ้า นางสาววิมลศิริ ดวงรัตน์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ สังกัดคณะวิทยาการจัดการ MS11-2 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมบัณฑิตจบใหม่ ประชาชน และอาจารย์ประจำโครงการ ณ ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแบ่งหน้าที่และแยกย้ายกันเก็บข้อมูล TCD ประจำหมู่บ้านต่างๆ ทั้ง 7 หมู่บ้านของตำบลส้มป่อย แล้วนำไปเพิ่มข้อมูลลงในระบบ cbd.u2t.ac.th เพื่อให้ถึงยอดข้อมูล TCD ตามที่ อว. ต้องการตำบลละ 500 ข้อมูล

วันที่ 4 สิงหาคมคม 2565 ได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล TCD พร้อมทีมงานนักศึกษาจบใหม่ และประชาชน ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปเพิ่มข้อมูลลงในระบบ cbd.u2t.ac.th รวมทั้งสิ้น 56 ข้อมูล ใน 6 รายการ ซึ่งได้แก่

  1. ร้านอาหารในท้องถิ่น จำนวน 4 ข้อมูล
  2. เกษตรกรในท้องถิ่น จำนวน 15 ข้อมูล
  3. สัตว์ในท้องถิ่น จำนวน 2 ข้อมูล
  4. แหล่งน้ำในท้องถิ่น จำนวน 2 ข้อมูล
  5. ภูมิปัญญาท้องทิ่น จำนวน 3 ข้อมูล
  6. พืชในท้องถิ่น จำนวน 30 ข้อมูล

จากการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลพบว่า 1. ร้านอาหารในท้องถิ่น ได้แก่ ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋น ข้าวมันไก่ ร้านนาฬิกาแฟ ร้านนาน่าอาหารตามสั่ง 2. เกษตรกรในท้องถิ่นมีอาชีพปลูกมันสำปะหลังและทำนาเป็นหลัก โดยปลูกพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นส่วนใหญ่ 3. สัตว์ในท้องถิ่น ได้แก่ ไก่ เป็ด ห่าน ชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยงวัวเป็นหลัก 4. แหล่งน้ำในท้องถิ่น ได้แก่ สระหมู่ 5 สระทะยุ่ง 5. ภูมิปัญญาท้องทิ่น ได้แก่ การทอผ้าไหม การทำน้ำหมักชีวภาพ และการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์จากมูลวัว 6. พืชในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นพริก ต้นดอกพุทธ ต้นกกรังกา ต้นโสมไทย ต้นบานบุรีม่วง เป็นต้น

  • ข้อมูลที่พัก/โรงแรม

  • ข้อมูลร้านอาหารในท้องถิ่น

  • ข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น

  • ข้อมูลสัตว์ในท้องถิ่น

  • ข้อมูลแหล่งน้ำในท้องถิ่น

  

  • ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • ข้อมูลพืชในท้องถิ่น

วันที่ 6 สิงหาคม 2565 ได้ลงพื้นที่ปฏิงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านโคกตะแบง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ศาลาหมู่ 4 บ้านโคกตะแบง โดยใช้วัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช นำมาผสมกับสารโดโลไมท์ของกรมพัฒนาที่ดิน 25 กิโลกรัม 1 ถุง กากน้ำตาล 10ลิตร 1 แกลอน สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 2 ซอง จุลินทรีย์อีเอ็ม 1 ลิตร 2 แกลอน และเศษใบไม้หรือเศษฟาง ซึ่งมีอุปกรณ์ในการทำเป็นถังน้ำ 200 ลิตร 2 ใบ บัวรดน้ำ 2 อัน และไม้กวน 2 อัน โดยวิธีการนำมาคลุกเคล้าอินทรีย์วัตถุกับมูลสัตว์ นำกากน้ำตาล จุลินทรีย์อีเอ็มและสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ละลายน้ำ ราดลงบนอินทรีย์วัตถุกับมูลวัว ตามด้วยสารโดโลไมท์ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แค่พอชื้นๆไม่ต้องแฉะ ปิดผ้าใบคลุมทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กลับกองปุ๋ย ทำ 3 ครั้ง เมื่อครั้งที่ 2 นำเข้าพักไว้ในที่ร่ม เพื่อคลายความร้อน

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 ได้รับมอบหมายให้ออกแบบโลโก้หรือฉลากผลิตภัณฑ์ ข้าพเจ้าจึงได้นำต้นส้มป่อยที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลส้มป่อยซึ่งพบมากในพื้นที่มาจัดทำเป็นโลโก้ของผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการทำการตลาด ซึ่งต้นส้มป่อย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ใบส้มป่อย บย่อยเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก ปลายใบมนหรือแหลม ที่ปลายเป็นติ่งหนามแหลมอ่อนโค้ง ดอกส้มป่อย ออกดอกเป็นช่อกระจุกรูปทรงกลม โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรืออกตามซอกใบข้างลำต้นประมาณ 1-3 ช่อดอกต่อข้อ ผลส้มป่อย ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน แบนยาว ผิวฝักเป็นลอนคลื่นเป็นข้อ ๆ ตามเมล็ด ปลายฝักมีหางแหลม สันฝักหนา ฝักอ่อนเปลือกเป็นสีเขียวอมแดง เมื่อแก่แล้วฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ส้มป่อยจัดเป็นไม้มงคลของชาวไทย โดยเชื่อว่าการปลูกส้มป่อยจะช่วยขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งเลวร้ายไม่ให้มารบกวน ช่วยเสริมหรือคืนอำนาจ ใบส้มป่อยถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพร โดยจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ที่ช่วยชำละล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง แก้ปวดเมื่อย และช่วยแก้หวัดได้ และยังถูกนำมาใช้ในสูตรยาลูกประคบสมุนไพรเพื่อเป็นยาแก้โรคผิวหนัง บำรุงผิว ลดความดัน

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 น. เข้าร่วมการประชุมเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านโคกตะแบง โดยมีอาจารย์ประจำโครงการ นายกอดิศักดิ์ นาวีสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่อบต. และชาวบ้านเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ อาจารย์อนงค์ ทองเรือง และอาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิดได้ให้ความรู้แนวทางในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้ดำเนินการไปในทางเดียวกัน และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าของตำบลส้มป่อยให้มีผลิตภัณฑ์และรายได้เกิดขึ้นจริงในชุมชน

คลิปวิดีโอประกอบการปฏิบัติงาน