ข้าพเจ้า นางสาววิมลศิริ ดวงรัตน์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ สังกัดคณะวิทยาการจัดการ MS11-2 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานพร้อมบัณฑิตจบใหม่ และประชาชน ณ ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแบ่งหน้าที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำกิจกรรม ECT Week และวางแผนการนำผลิตภัณฑ์จัดวางจำหน่ายในงานมหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพจากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านโคกตะแบง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์และผลิตกระถางที่ทำจากวัสดุเพาะพืชย่อยสลายได้ ที่ศาลาหมู่ 4 บ้านโคกตะแบง

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้วัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช นำมาผสมกับสารโดโลไมท์ของกรมพัฒนาที่ดิน 25 กิโลกรัม 2 ถุง  สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จุลินทรีย์ผลิตน้ำหมักชีวภาพ 8 ซอง หัวปุ๋ยสูตร 1 หัวปุ๋ยสูตร 2 หัวปุ๋ยสูตร 3 แกลบดิบ และแกลบดำ ซึ่งมีอุปกรณ์ในการทำเป็นถังน้ำ 200 ลิตร 2 ใบ บัวรดน้ำ 2 อัน และไม้กวน 2 อัน โดยวิธีการนำมาคลุกเคล้าอินทรีย์วัตถุกับมูลสัตว์ นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ละลายน้ำ ราดลงบนอินทรีย์วัตถุกับมูลวัว ตามด้วยสารโดโลไมท์ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แค่พอชื้นๆไม่ต้องแฉะ ปิดผ้าใบคลุมทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กลับกองปุ๋ย ทำ 3 ครั้ง เมื่อครั้งที่ 2 นำเข้าพักไว้ในที่ร่ม เพื่อคลายความร้อน

การผลิตกระถางที่ทำจากวัสดุเพาะพืชย่อยสลายได้ โดยนำฟางข้าวมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซต์ (NaOH) หรือ โซดาไฟจะได้เยื่อที่มีความอ่อนนุ่ม จากนั้นนำเยื่อที่ได้ไปอัดขึ้นรูป แล้วนำไปตากแดด เพื่อให้ได้เป็นกระถางขึ้นมา

วันที่ 5-9 กันยายน 2565 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต) ร่วมกันระดมความเห็น ข้อเสนอแนะ จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล พบปะพูดคุย กับประชาชนในพื้นที่ตำบลส้มป่อย อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ณ ที่ทำการตำบลโนนดินแดง กศน. ตำบลส้มป่อย

การสรุปผลการลงพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรม ECT Week ดังกล่าวได้มีการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง วิถีประชาธิปไตย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลส้มป่อยได้รับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองคุณภาพ สามารถนำหลักประชาธิปไตยและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง

วันที่ 12-13 กันยายน 2565 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านโคกตะแบง ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ศาลาหมู่ 4 บ้านโคกตะแบง เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด โดยนำปุ๋ยอินทรีย์ผ่านกระบวนการหมักครบ 15 วันแล้ว มาผสมน้ำเล็กน้อยเข้าไปในเครื่องอัดเม็ด เพื่อไม่ให้ปุ๋ยอินทรีย์มีความเหนียวมาก ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจะนิ่มเกินไปไม่เป็นก้อน แล้วจากนั้นใช้คราด เกลี่ยกองปุ๋ยให้แตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ แล้วทำการตักใส่ผ้ารอง นำไปตากแดดแล้วบรรจุใส่ถุง โดยมีนายกอดิศักดิ์ นาวีสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่อบต. เดินทางมาชมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด

วันที่ 15-18 กันยายน 2565 มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพจากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน วันที่ 15-18 กันยายน 2565 เวลา 09.00 – 18.00 น. ณ หน้าอาคาร 12 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยทางทีมงาน U2T ตำบลส้มป่อย ได้นำผลิตภัณฑ์มาวางจำหน่ายภายในงาน อาทิเช่น

  • วัสดุเพาะพืชย่อยสลายได้ ผลิตจากฟางข้าว สามารถนำไปใช้ทดแทนถุงเพาะชำที่ผลิตจากพลาสติกปิโตรเคมี จึงลดปริมาณขยะจากการทิ้งถุงเพาะชำได้ 100% ไม่จำเป็นต้องฉีกหรือถอดถุงเพาะชำออกขณะย้ายแปลงปลูก จึงประหยัดเวลา แรงงาน และมีอัตราการรอดตายของต้นกล้าภายหลังการย้าย 100% สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เองภายในดินกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน

  • ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด ดินดีส้มป่อย ผลิตจากมูลโค ช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น

” ชม ชิม ช้อป แชร์ “

คลิปวิดีโอประกอบการปฏิบัติงาน