ข้าพเจ้า นางสาวอังคนาง นุเรศรัมย์

ประเภทบัณฑิต ตำบลป่าชัน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร MS15-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

“อำเภอพลับพลาชัย” ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมเคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอประโคนชัย ตั้งชื่อตามที่ตั้งของอำเภอ คือ บริเวณบ้านพลับพลา และนำคำว่า ชัย ซึ่งเป็นท้ายชื่อของประโคนชัย มาต่อท้าย เป็น ”’อำเภอพลับพลาชัย”’ อำเภอพลับพลาชัยแบ่งพื้นที่การปกครอง ออกเป็น 5 ตำบล 67 หมู่บ้าน มีดังนี้ ตำบลจันดุม (18 หมู่บ้าน) , ตำบลโคกขมิ้น(15 หมู่บ้าน), ตำบลสำโรง (11 หมู่บ้าน), ตำบลสะเดา (13 หมู่บ้าน) และตำบลสำโรง (11 หมู่บ้าน) และตำบลป่าชัน(10 หมู่บ้าน ) อำเภอพลับพลาชัย ถือว่าเป็นอำเภอแหล่งเศรษฐกิจอำเภอหนึ่ง ที่มีการผลิตสินค้าเองและมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นอำเภอที่ควรได้รับการพัฒนาและต่อยอด ให้ดียิ่งขึ้นไปได้อีก ทั้งนี้ ตำบลป่าชัน อำเภอพลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบในการลงสำรวจและลงไปพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจุดประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะดำเนินการนั้น คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนผลิตอยู่แล้ว นำมาพัฒนาต่อยอด และทำให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นไป

ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้พูดคุยกับทีมงานเพื่อนัดวันเวลาลงพื้นที่ พร้อมทั้งช่วยกันหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มีในตำบลป่าชัน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ และข้อมูลที่ได้นั้นสรุปได้ว่า มีหมู่ที่ 5 บ้านประทัดบุ ตำบลป่าชัน อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอยู่สองผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนผลิตเอง คือ ขนมกะหรี่ปั๊บ และขนมกล้วยเบรคแตก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว จึงโทรประสาน นางสิน สายแก้ว ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นี้ เพื่อลงพื้นที่ไปศึกษากระบวนการทำผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่าง โดยนัดเจอกัน ณ บ้านประทัดบุ บ้านนางสิน สายแก้ว ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. เมื่อข้าพเจ้าและสมาชิกในทีมลงพื้นที่แล้วก็ได้พูดคุยและสอบถามข้อมูลจาก นางสิน สายแก้ว และสมาชิกที่ทำขนมกะหรี่ปั๊บ และขนมกล้วยเบรคแตก โดยนางสิน สายแก้ว เล่าว่า ทั้งสองผลิตภัณฑ์ทำมา 10 กว่าปีแล้ว ในปี 2558มีขนมกะหรี่ปั๊บ ได้ขึ้นทะเบียนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) แต่ยังไม่ผ่าน อย. ส่วนขนมกล้วยเบรกแตก จะมี 2 แบบ แบบหวาน กับแบบไม่หวาน ทั้งนี้ไม่ได้ผลิตแล้ว เนื่องจากต้นทุนค่อนข้างสูง ซึ่งในวันที่ลงพื้นที่นั้น นางสิน สายแก้วได้พาทำขนมกะหรี่ปั๊บและขนมกล้วยเบรกแตก พร้อมทั้งได้ลงมือปฏิบัติ

จากการได้ลงพื้นที่เสร็จแล้ว ข้าพเจ้าและทีมงานได้วิเคราะห์และสรุปข้อมูลว่า จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1.ด้านรสชาติของขนมกะหรี่ปั๊บ จากที่มีแค่ไส้หวานจะผลิตไส้เจและไส้มัลเบอรี่ เพิ่มขึ้นมา

2.ด้านรูปทรงขนมกะหรี่ปั๊บ จากที่มีแค่ทรงที่เคยเห็น จะปรับให้เป็นทรงอื่นเพิ่มขึ้นมา

3.ผลิตภัณฑ์ใหม่ จากที่มีแค่ กล้วยเบรกแตกในถุงอย่างเดียว จะเพิ่ม มันม่วง/เผือก/เบรกแตก และธัญพืช เข้าไปในถุงเดียวกัน

4.ด้านการตลาด เพิ่มการขายในตลาดออนไลน์ เช่น เพจเฟซบุ้ค เป็นต้น