BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY  TO TAMBON : BRU2T

ชื่อบทความ U2T for BCG MS19-2 โครงการ การสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้าน ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ

        : อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา

ชื่อเจ้าของบทความ  นายชาคริต เพ็ชรหนู ประเภทนักศึกษาจบใหม่

กระผม นายชาคริต เพ็ชรหนู นักศึกษาจบใหม่ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (MS19-2 ตำบลหลักเขต)  สังกัด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″

การปฏิบัติงานในโครงการ กิจกรรมที่ 1 ร่วมประชุมออนไลน์สรุปประเด็นและปัญหาที่ต้องการจะเข้าไปแก้ไข เพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์หรือสินค้าและบริการ ในการแข่งขัน Hackathon รอบแรก สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  1. ปัญหา (Problem)

ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าไหมและผ้าด้ายในชุมชนตำบลหลักเขต ยังไม่มีการออกแบบลวดลายของผ้าไหม   ไว้จัดจำหน่าย ยังคงใช้ลายสีพื้นและลวดลายพื้นบ้านทั่วไป และการจัดจำหน่ายยังคงมีเพียงการโทรสั่งเพียงช่องทางเดียวยังไม่มีหน้าเว็บเพจในการขายสินค้า จึงทำให้ขาดการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางนี้ และยังขาดการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

  1. แนวทางการแก้ไขปัญหา (Solution)

สิ่งที่จะนำมาใช้และพัฒนา คือ ผ้าไหมและผ้าด้ายเป็นสีธรรมชาติจากวัตถุดิบในชุมชน เช่น จากต้นหม่อนพันธ์บุรีรัมย์ 60, ใบสักทอง, ใบประดู่, ใบสบู่เลือด, ฝาง, ใบขี้เหล็ก, ต้นคูณ, บ่อน้ำ (โคลน), ขนุน, มะพร้าว, เพกา,ต้นกล้วย (ใบ, เหง้า, หัวปลี) เป็นต้น และออกแบบลวดลายผ้าเป็นลายจากใบหม่อน การพัฒนาแพ็คเกจการจัดจำหน่ายสินค้าและการสร้าง Story Telling ให้กับสินค้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตในชุมชน จัดจำหน่ายออนไลน์, ออฟไลน์ และจัดจำหน่ายผ่านกิจกรรมการส่งเสริมการขาย เช่น ขายในงานส่งเสริมการตลาดในส่วนกลาง และขายผ่านกิจกรรมเวทีประกวด เช่น งานประกวดมิสแกรนด์จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์

  1. คุณของสินค้าและบริการ (Value Proposition)

1)ใช้ผลผลิตทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2)นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

3)สร้างความรู้ให้ชุมชน

4)สร้างงานสร้างอาชีพ

5)สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/บริการ

6)สร้างรายได้ให้ชุมชน

7)อนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรมที่ 2 ได้ลงพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ความรับผิดชอบ คือ หมู่ที่ 4 สำรวจข้อมูลของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ TCD เพื่อนำข้อมูล TCD มาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน เชื่อมโยงกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ฐานข้อมูล 10 หมวดหมู่ สรุปได้ ดังนี้

  1. ไม่มีผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
  2. แหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น มีจำนวน 1 ร้าน ได้แก่ เกรียรัมย์แลนด์
  3. ไม่มีโรงแรมปรือที่พัก
  4. ไม่มีร้านอาหารในท้องถิ่น
  5. อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น มีมากกว่า 5 เมนู เช่น นมเย็น กาแฟ ช็อกโกแลตเย็น เป็นต้น
  6. เกษตรกรในท้องถิ่น มีจำนวน 125 ครัวเรือน
  7. พืชในท้องถิ่น มีมากกว่า 100 ชนิด เช่น สะเดา ตะขบ ต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น
  8. สัตว์ในท้องถิ่น มีมากกว่า 10 ชนิด เช่น วัว ควาย สุนัข แมว ไก่ เป็นต้น
  9. ไม่พบภูมิปัญญาท้องถิ่น
  10. ไม่พบแหล่งน้ำในท้องถิ่น

กิจกรรมที่ 3 ร่วมประชุมออนไลน์ เรื่องการทบทวนการลงข้อมูลในระบบ TCD เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยรายละเอียดมีดังนี้

การอบรมวิธีการจัดเก็บและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD

  1. บทบาทหน้าที่

บัณฑิต/ประชาชน : ลงสำรวจข้อมูล โดยใช้เว็บไซต์ ( https://cbd.u2t.ac.th )

ผู้ดูแลหน่วยงาน CIO/Admin : เป็นผู้อบรมและตรวจสอบข้อมูลของหน่วยงาน
( https://stat.u2t.ac.th )

  1. การเก็บข้อมูลสำหรับตำบลใหม่

มุ่งไปที่การเก็บข้อมูลตามหมวดหมู่ชุดคำถามให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ในเว็บไซต์
( https://cbd.u2t.training ) จะปรากฏหมวดคำถามทั้งหมด 10 หมวด ได้แก่

  • ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด
  • แหล่งท่องเที่ยว
  • ที่พัก/โรงแรม
  • ร้านอาหารในท้องถิ่น
  • อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
  • เกษตรกรในท้องถิ่น
  • พืชในท้องถิ่น
  • สัตว์ในท้องถิ่น
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • แหล่งหน้ำในท้องถิ่น
  1. การใช้งานระบบ ( https://cbd.u2t.ac.th )

เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จจะปรากฏ 3 เมนูหลัก คือ

  • เพิ่มข้อมูล หน้านี้จะแสดงายการหมวดหมู่ของข้อมูล สามารถคลิกเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการเพื่อบันทึกข้อมูลให้ได้ทั้ง 10 หมวด
  • ประวัติ หน้านี้ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลในแต่ละหมวดที่ต้องการเพื่อเข้าไปตรวจวอบแก้ไขหรือลบข้อมูล
  • หน้าเมนู หน้านี้มีไว้สำหรับแสดงเมนูอื่นอื่นๆ ที่นอกเหนือจากส่วนเพิ่มข้อมูลและประวัติ โดยรายได้ที่แสดงไว้ได้แก่ ประวัติส่วนตัว คู่มือการใช้งานและออกจากระบบ
  1. การใช้งาน ( https://stat.u2t.ac.th ) ( สำหรับอาจารย์/Admin )
    • สถิติภาพรวม สำหรับดูจำนวนข้อมูลที่บันทึกของแต่ละตำบลรวมไปถึงจำนวนของผู้บันทึกข้อมูล
    • ข้อมูลรายการผู้บันทึก สำหรับดูช้อมูลในมุมมองของผู้บันทึก
    • ข้อมูลดิบ สำหรับดูข้อมูลที่บันทึกในแต่ละหมวดหมู่อย่างละเอียด สามารถปรับปรุงข้อมูลที่ต้องการได้ผ่านการอัพโหลดไฟล์ CSV ที่แก้ไขอย่างถูกต้อง
    • การแก้ไขข้อมูลสามารถทำได้ทั้ง CIO อาจารย์ประจำตำบลและผู้บันทึกข้อมูล
    • ข้อแตกต่างระหว่าง CIO หรือ Admin กับอาจารย์ประจำตำบล คือ Admin สามารถที่จะเข้าไปดูข้อมูลในทุกพื้นที่ของที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบได้ แต่อาจารย์ประจำตำบลจะเข้าดูได้เฉพาะตำบลที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น
  2. แนวทางการแนะนำตัวและจุดประสงค์ การเก็บข้อมูล

          ก่อนสอบถามควรที่จะแนะนำตัวและแจ้งมาจากหน่วยงานใดภายใต้โครงการใด ที่จะมาทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลและอัพเดทข้อมูลต่างๆให้ทันสมัยอยู่เสมอ และเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปวางแผนบริหารจัดการเสริมจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนของแต่ละพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างข้อมูลที่เป็นที่พักและโรงแรม ถ้าข้อมูลที่เป็นประเภทรายได้ จำนวนพนักงานและจำนวนนักท่องเที่ยว ผู้จัดเก็บข้อมูลก็ควรจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลโดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ โดยอาจจะต้องให้เหตุผลประกอบไปว่า ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลด้านสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ในภาพรวม สำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ และควรที่จะสอบถึงปัญหาที่พบและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเพื่ออัพเดทข้อมูลเดิมในทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสถานการณ์ปัจจุบันได้ และขอยกตัวอย่างอีกหมวดหมู่ก็คือ ด้านเกษตรกร ควรจะอธิบายจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลอย่างชัดเจน เพื่อเก็บข้อมูลล่าสุดโดยคนในพื้นที่ซึ่งให้เห็นความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน โดยจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ ให้ได้ได้ภาพรวมไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่นตนเองและบริหารจัดการพื้นที่ในระดับตำบล จังหวัดและประเทศ และควรขออนุญาตเก็บภาพพื้นที่ผลผลิตและเกษตรกรเพิ่มเพิ่มเติมเพื่ออัพเดทข้อมูลให้ทันสมัยอยุ่
เสมอ ข้อมูลที่เกี่ยวกับเกษตรกรอาจมีบางหน่วยงานของภาครัฐคอยดำเนินการเก็บและติดตามข้อมูลอยู่บ้างแล้วจึงควรตรวจสอบจากแหล่งที่มาเหล่านั้นประกอบไปด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและตัดสินใจ ว่าควรที่จะเก็บด้านใดเพิ่มเติมบ้าง เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ถ่ายรูปพื้นที่ทำการเกษตรที่ทำการเก็บข้อมูล เช่นพื้นที่โดยรวม พื้นที่ที่ใช้ทำสวน เป็นต้น

กิจกรรมที่ 4 เข้าประชุมออนไลน์ เรื่องต้นทุนการผลิต , การลงชุมชน , การบันทึกข้อมูล TCD

กิจกรรมที่ 5 ร่วมประชุมออนไลน์ สรุปประเด็นการทำงานตลอดเดือนสิงหาคม สรุปได้ดังนี้ การสำรวจข้อมูลของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ TCD เพื่อนำข้อมูล TCD มาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน เชื่อมโยงกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภา (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้” ฐานข้อมูล 10 หมวดหมู่

        จากการกระผมได้เข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการนี้ ได้ทราบถึงบริบทของตำบลหลักเขตว่ามีที่มาของชื่อมาจากหลักเขตโบราณ เป็นหลักแบ่งเขตการปกครองมาตั้งแต่สมัยโบราณของเขมร มีพื้นที่ทั้งหมด 40.264 ตารางกิโลเมตร 25,065 ไร่ มีประชากรทั้งหมด 6,499 คน มีหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม กิจกรรมในเดือนต่อไปคือการลงชุมชนเพื่อสร้างผลผลิตผ้าไหมและผ้าด้ายตามลวดลายที่โครงการกำหนดไว้

นายชาคริต เพ็ชรหนู

ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์