โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG and Regional Development)

หลักสูตร: MS19-2 โครงการ การสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้าน
ตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ
        : อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา

ชื่อบทความ: การปฏิบัติงานเดือนสิงหาคม ภายในโครงการการสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้านตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษกิจชุมชน

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวสโรชา หงษา ประเภทนักศึกษาจบใหม่

        ดิฉันนางสาวสโรชา หงษา ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (MS19-2 ตำบลหลักเขต) ตำแหน่ง บัญชี การตลาดออนไลน์ สังกัด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″

       การปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2565 การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่1
การศึกษาเตรียมความพร้อมเข้าร่วมในการโครงการ Hackathon มีทั้งหมด 4 หมวดหมุ่ ได้แก่ 1.ด้านการเกษตรและอาหาร 2.ด้านสุขภาพและการแพทย์ 3.ด้านการท่องเที่ยวและบริการ 4.ด้านพลังงานและวัสดุ

   

การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่2
คณาจารย์และคณะปฏิบัติงานได้มีการประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ครั้งที่2 ได้มีการประชุมเรื่องการลงข้อมูล TCD ในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ วิธีการลงบันทึกข้อมูล การใส่รูปภาพประกอบข้อมูลตามหัวข้อหมวดหมู่  

   

การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่3
ประชุมเรื่องผ้าต้นแบบผืนแรก ผ้าไหมรูปใบหม่อน ต้นทุนการผลิตผ้าผืนแรก การทอผ้าใช้เส้นไหมแท้ทั้งเส้น ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน มีวัสดุย้อมสีผ้า(ผงขมิ้น) นอกจากนั้นวัสดุอื่นๆเก็บตามธรรมชาติในชุมชน การผลิตผ้า เป็นการมัดหมี่ใบหม่อน ด้วยเส้นไหม 49 ลำหมี่ ย้อมสีธรรมชาติโดยสกัดน้ำมีไว้แล้ว ทอกี่ทอมือ แบบพื้นบ้าน 2 ตะกอ พุ่งกระสวยด้วยมือ

   

การประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ ครั้งที่4
คณาจารย์และคณะปฏิบัติงานได้มีการประชุมการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ครั้งที่4 เข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังการนำเสนอผ้าต้นแบบผืนแรก และการสรุปผลการปฏิบัติงาน การบันทึกข้อมูล TCD ในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบเพื่อเขียนรายงานประจำเดือนสิงหาคม

   

การจัดเก็บข้อมูลTCD
การลงพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ พื้นที่ความรับผิดชอบ คือ หมู่ที่12 บ้านเขตสมบูรณ์ สำรวจข้อมูลของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ TCD เพื่อนำข้อมูล TCD มาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน เชื่อมโยงกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”  โดยมีฐานข้อมูล 10 หมวดหมู่  จากการที่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล พบว่าในหมู่12 บ้านเขตสมบูรณ์ ข้อมูลที่มีในหมู่บ้านรวบรวมได้ 5 หมวดหมู่ และได้รวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้ ดังนี้

ร้านอาหารในท้องถิ่น

   

เกษตรกรในท้องถิ่น

         

พืชในท้องถิ่น

       

สัตว์ในท้องถิ่น   

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

        

จากฐานข้อมูล TCD สรุปได้ว่า หมู่ที่ 12 บ้านเขตสมบูรณ์ ข้อมูลที่ได้ในหมู่บ้านรวบรวมได้ 5 หมวดหมู่ 79 ข้อมูล ประชากรโดยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ปลูกข้าว และข้อมูลที่ได้ลงพื้นที่ ได้แก่ ร้านอาหารในท้องถิ่นมี 3 ร้าน เกษตรกรในท้องถิ่นมี 40 ครัวเรือน พืชในท้องถิ่นมี 22 ชนิด สัตว์ในท้องถิ่นมี 1 ชนิด และภูมิปัญญาท้องถิ่นมี 3 ภูมิปัญญา จากข้อมูลตำบลหลักเขตมีพื้นที่ทั้งหมด 40.264 ตารางกิโลเมตร 25,065 ไร่ มีประชากรทั้งหมด 6,499 คน มีหมู่บ้านที่หมด 14 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม

 

ลงชื่อ นางสาวสโรชา หงษา
ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์