ชื่อบทความ U2T for BCG MS19-2 โครงการการสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้าน ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

หัวหน้าโครงการ : รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ

: อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา

ชื่อเจ้าของบทความ  นางสาวพัชรีภรณ์  เพ็ชรเลิศ  ประเภทนักศึกษาจบใหม่

สวัสดีค่ะดิฉัน นางสาวพัชรีภรณ์  เพ็ชรเลิศ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (MS19-2 ตำบลหลักเขต)  สังกัด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ 1 เริ่มต้นจาก หัวหน้าโครงการ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ และ อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา อาจารย์ประจำโครงการ ได้มีการเข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อปฐมนิเทศชี้แจงรายละเอียดโครงการและแนะนำคณะทำงาน รวมทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 นายชยพล กลองชัย ผู้ปฏิบัติ ประเภท ประชาชน มีความสามารถ การบริหารจัดการ การออกแบบลวดลาย การผลิต การขายผ้าไหม ครบวงจร หมู่ที่ 2 นายหัสชัย เรืองยิ่ง   ผู้ปฏิบัติ ประเภท ประชาชน มีความสามารถ ภาษาอังกฤษ การจัด Event นำผ้าไหมขึ้นสู่เวทีประกวด การเดินแบบการส่งเสริมการตลาด  การสร้าง Content  หมู่ที่ 3,13 นางสาวนฤมล เกรัมย์   ผู้ปฏิบัติ ประเภท บัณฑิต มีความสามารถ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระบบ เครือข่าย การตลาดออนไลน์ หมู่ที่ 4 นายชาคริต เพ็ชรหนู มีความสามารถ ถ่ายภาพ ทำ Content ผลิตสื่อ หมู่ที่ 5,11  ดิฉัน นางสาวพัชรีภรณ์ เพ็ชรเลิศ  ผู้ปฏิบัติ ประเภทบัณฑิต ความสามารถ รัฐศาสตร์ Bigdata ชุมชนหลักเขต หมู่ที่ 6 นางสาวแสงเดือน วงษ์นก  ผู้ปฏิบัติ ประเภท ประชาชน มี ความสามารถ การบริหารจัดการทอผ้าครบวงจร ผู้รับผิดชอบ หมู่ที่ 7 นายกิติกรณ์  ก้องสุรินทร์  ผู้ปฏิบัติ ประเภท บัณฑิต มีความสามารถ เศรษฐศาสตร์ การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตชุมชน หมู่ที่ 8,9,14 นายเฉลิมวุฒิ วิชัยรัมย์  ผู้ปฏิบัติ ประเภท ประชาชน มีความสามารถ นิติกร Bigdata ชุมชนหลักเขต  หมู่ที่ 10 ป้าเล็น กระเชิญรัมย์ ผู้ปฏิบัติ ประเภท ประชาชน มีความสามารถ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าครบวงจร หมู่ที่ 12 นางสาวสโรชา หงษา  ผู้ปฏิบัติ ประเภท บัณฑิต มีความสามารถ บัญชี การตลาดออนไลน์

กิจกรรมที่ 2 เข้าร่วมประชมออนไลน์ เพื่อปรึกษาการพัฒนาผลผลิตในชุมชนตำบลหลักเขต ได้ข้อสรุปว่า โครงการนี้จะพัฒนาผลผลิตผ้าพื้นบ้าน คือผ้าไหมและผ้าด้าย ในอดีตผ้าพื้นบ้านชุมชนตำบลหลักเขต จะมีสีสดใส สีสว่าง มีลวดลวดหลากหลาย จากแนวคิดของโครงการนี้ จะผลิตเนื้อผ้าจากสีธรรมชาติ พัฒนาลวดลายทางเลือกใหม่ที่นำต้นแบบมาจากใบหม่อน

                        

ลักษณะผ้าจากชุมชนตำบลหลักเขต

                                         

กิจกรรมที่ 3 ได้รับมอบหมายงานในการหาข้อมูลบริบทชุมชนของหมู่ 5 บ้านโคกเมือง และหมู่ 11 บ้านสมสุข ได้พบกับหมู่ที่5บ้านโคกเมืองบ้านโคกเมืองเดิมทีอยู่กับบ้านปริงเปนหมู่ที่6 ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วต่อมาได้ทำเรื่องแยกตำบลและหมู่บ้านเมื่อปี2418เป็นตำบลหลักเขตและบ้านโคกเมืองหมู่ที่ 5 ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือนายพรชัย เพประโคน และคนปัจจุบันคือนายจิระเดช และหมู่ที่ 11บ้านสมสุขหมู่ที่ 11 ตำบลหลักเขตอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์มีประวัติมาว่าเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อปีพ.ศ. 2539 แต่ก่อนนั้นชื่อหมู่บ้านตาแผ้ว หมู่ที่ 6 ซึ่งตอนนั้นเป็นหมู่บ้านเดียวกันต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้นและมีครัวเรือนมากขึ้นคณะกรรมการหมู่บ้านจึงเสนอเรื่องเพื่อขอแยกหมู่บ้านอีกหนึ่งหมู่บ้านคือหมู่บ้านสมสุขหมู่ที่ 11 ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายสมาน อาจยิน คนที่สองคือนายสวัสดิ์ การเพียร และคนปัจจุบันคือนางสาวบัวรอง พาราษฎร์ เพประโคนได้ข้อสรุปว่าหมู่5และหมู่11 มีอาชีพการเกษตรกรเป็นอาชีพหลักและอาชีพรับจ้างทั่วไปมีการบริหารบ้านให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน

                 

                     

กิจกรรมที่ 4 เข้าประชุมออนไลน์ เรื่อง การเขียนรายงานการปฏิบัติงาน เละนัดหมายวัน เวลา ในการลงชุมชนในครั้งต่อไป

                 

กิจกรรมที่ 5 ได้เข้าร่วมอบรมของส่วนกลาง เรื่อง การอบรมวิธีการจัดเก็บข้อมูลและกำกับตรวจสอบข้อมูล TCD ในการอบรมนี้จะแนะนำการใช้งานของ ระบบ TCD และใช้คู่มือในการใช้งาน แนะนำการใช้งานในแต่ละหมวดหมู่ รวม 10 หมวด

                 

กิจกรรมที่ 6 เข้าร่วมประชุมออนไลน์เพื่อรับฟังการนำเสนอ การผลิตลวดลายผ้าต้นแบบ และการสรุปผลการปฏิบัติงานเพื่อเขียนรายงานประจำเดือนกรกฏาคม

สรุปการประชุมออนไลน์จะผลิตผ้าไหมผ้าด้ายลายใบม่อน  แนะนำแนวทางในการเขียนบทความเนื้อหาในบทความ กำหนดเวลาในการส่งบทความวันที่20 กรกฎาคม 2565 ร่วมถึงสรุปชื่อทีมในการดำเนินโครงการคือ“Lak Khet Folk Fabric”

         

         

จากการได้เข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการนี้ สิ่งที่ดิฉันได้รับคือ ได้ทราบถึงบริบทของตำบลหลักเขตว่าตำบลหลักเขต มีที่มาของชื่อมาจากหลักเขตโบราณ เป็นหลักแบ่งเขตการปกครองมาตั้งแต่สมัยโบราณของเขมร สถานที่ตั้งคือ วัดบ้านหลักเขต หมู่ที่2  ต.หลักเขต อ.เมืองบุรีรัมย์  จ.บุรีรัมย์ ตำบลหลักเขตมีพื้นที่ทั้งหมด 40.264 ตารางกิโลเมตร 25,065 ไร่ มีประชากรทั้งหมด 6,499 คน มีหมู่บ้านที่หมด 14 หมู่บ้าน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม

นางสาวพัชรีภรณ์  เพ็ชรเลิศ นักศึกษาจบใหม่

MS19-2 ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์