โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG and Regional Development)

หลักสูตร: MS19-2 โครงการ การสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้าน
ตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน

หัวหน้าโครงการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ
        : อาจารย์คธาวุฒิ จันบัวลา

ชื่อบทความ: การปฏิบัติงานเดือนกันยายน ภายในโครงการการสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าพื้นบ้านตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษกิจชุมชน

ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวสโรชา หงษา ประเภทนักศึกษาจบใหม่

ดิฉัน นางสาวสโรชา หงษา นักศึกษาจบใหม่ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ (MS19-2 ตำบลหลักเขต)  สังกัด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″

การปฏิบัติงานในโครงการ

กิจกรรมที่ วันที่ 26 สิงหาคม 2565 จากการลงพื้นที่หมู่ 8 บ้านเขตสามัคคี เพื่อสรรหาคนมัดลายผ้าด้ายลายใบหม่อน โดยจากการสรรหาผู้มัดด้าย คือป้าคูณและป้าพวนเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับวัสดุที่ต้องใช้ในการมัดผ้าด้าย เช่น เชือกฟาง สีย้อมด้าย เส้นยืนผ้าด้ายและฟืมทอผ้า เป็นต้น

 

 

กิจกรรมที่ 2 วันที่ 2 กันยายน ติดตามผลการผลิตผ้าด้ายที่บ้านเขตสามัคคี หมู่ 8 เทศบาลตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์

  

 

 กิจกรรมที่ 3 วันที่ 9 กันยายน 2565 เข้าร่วมประชุมออนไลน์ประเด็นการคิดต้นทุนและราคาของผลิตภัณฑ์ผ้าด้าย สรุปได้ว่า ผ้าทอ 400 บาท ค่าแรง 500 บาทต่อ 4 เมตร ค่าด้ายมัดหมี่ 120 บาท Package 30 บาท รวม 1,150 บาท จากการเทียบราคาต้นทุนและราคาในตลาด จะได้ราคาขายอยู่ที่ ผืนละ 700 บาท โดย 1 ผืนจะมีความยาว 2 เมตร

       

กิจกรรมที่ 4 วันที่ 13 กันยายน 2565 ดำเนินการจัดการอบรมในรูปแบบบรรยาย ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และ MS19-2 โครงการ การสื่อสารในการออกแบบลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจชุมชน ณ ศาลากลางหมู่ 8 ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหัวดบุรีรัมย์

   

   

   

   

กิจกรรมที่ 5 วันที่ 14-18 กันยายน 2565″  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ขอเชิญ  ” ชม ชิม ช้อป แชร์”   ในงาน “U2T for BCG BRU FAIR” มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพ   จากจังหวัดบุรีรัมย์ 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน   เลือกซื้อและชมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ที่บริเวณหน้าอาคาร 12 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งแต่เวลา 9.00-18.00 น.   

  

            จากการได้เข้าร่วมปฏิบัติงานในโครงการนี้ สิ่งที่ได้รับคือ ได้ทราบถึงบริบทของตำบลหลักเขตว่ามีที่มาของชื่อมาจากหลักเขต พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกรรม นอกจากจะได้ทราบถึงบริบทภาพรวมของตำบลแล้ว ยังได้ทราบถึงบริบทของชุมชนจากการติดต่อสื่อสารและการลงพื้นที่สำรวจอีกด้วย และยังได้เรียนรู้กระบวนการทอผ้าแบบพื้นบ้านจากคนในพื้นที่ วิธีการมัดลายผ้า การย้อมสีผ้า รวมถึงทั้งการทอผ้าที่งดงาม

                                                                                                นางสาวสโรชา  หงษา

ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ตำบลหลักเขต อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์