ข้าพเจ้า นางสาวจุฑาทิพย์ โคตรสมบัติ ประเภทบัณฑิต MS21-2 ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจBCG
การปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำตำบลและทีมงานU2Tตำบลละหานทรายได้ร่วมกันประชุมออนไลน์เพื่อวางแผนรูปแบบการผลิตปรับปรุงสูตร น้ำพริกมะม่วงไก่กรอบและสมุนไพรไก่กรอบ อาจารย์ประจำตำบลได้มีการแนะนำให้ปรับปรุงการทำไก่กรอบแนะนำวิธีการทดลองทำไก่ให้กรอบไม่อมน้ำมัน วิธีการแปรรูปมะม่วงจากมะม่วงสดเป็นผงมะม่วงเพื่อเป็นการยืดอายุของน้ำพริกมะม่วงไก่กรอบให้เก็บรักษาได้นานขึ้นเพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่าย
ข้าพเจ้าและทีมงานทดลองทำผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำของอาจารย์ประจำตำบลทำให้สามารถยืดอายุของผลิตภัณฑ์ให้เก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้น และได้รสชาติที่ลงตัว
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ร่วมกันจัดทำข้อมูล แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ(C03)
แผนการพัฒนาประกอบด้วย 3ขั้นตอนหลักได้แก่
1.การพัฒนาสูตรน้ำพริกให้มีรสชาติที่ลงตัวให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย
2.พัฒนาการยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้มีอายุเหมาะสมต่อการจัดจำหน่าย
3.พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มีความทันสมัยและน่าสนใจ
ข้าพเจ้าและทีมงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลThailand Community Dataหรือ TCD โดยU2Tตำบลละหานทรายได้รับมอบหมายให้เก็บอย่างน้อย 500 ข้อมูล แบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆได้แก่ 1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด 2.แหล่งท่องเที่ยว 3.ที่พัก/โรงแรม 4.ร้านอาหารในท้องถิ่น 5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 6.เกษตรกรในท้องถิ่น 7.พืชในท้องถิ่น 8.สัตว์ในท้องถิ่น 9.ภูมิปัญญาท้องถิ่น 10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น
วันที่15สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและทีมงาน ได้นำหนังสือขออนุญาตลงพื้นที่ไปมอบให้นายกเทศบาลตำบลละหานทรายและผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ในตำบลละหานทราย ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่เริ่มจาก หมู่3 บ้านโคกงิ้ว มีผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิดชาว ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรปลูกข้าว ส่วนใหญ่ปลูกไว้กินเองไม่ได้จำหน่าย
และหมู่ที่ 4 บ้านหนองละหานทรายได้รับความร่วมมือจากผู้ใหญ่บ้านนาง วันนา เปรงปราง เป็นอย่างดี ช่วยแนะนำและพาลงพื้นที่ไปพบกับชาวบ้านในชุมชน ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองละหานทรายส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เลี้ยงโคกระบือ มีการรวมกลุ่มโคเนื้อเลี้ยงเพื่อจำหน่าย มีกลุ่มควายไทย ชาวบ้านบางรายมีวัวและควายรวมกันถึง70ตัว บางรายได้รับผลกระทบจากโรคลัมปีสกินที่ระบาดทำให้วัวควายล้มตาย เกิดความเสียหายแก่ชาวบ้าน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำไม้กวาดดอกหญ้า การทอผ้าจากกี่โบราณ ซึ่งกำลังดำเนินการขึ้นทะเบียนOTOP
การลงลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในครั้งนี้ ยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องการข้าพเจ้าและทีมงาน ยังต้องลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป