นางสาวประไพ มาตย์วังแสง ผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งงาน ประชาชน
ผู้ปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
กลุ่มของ MS22-2 ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
รายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ดำเนินงาน ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565
บทความการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม 2565
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ทีมงาน MS22-2 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์กับคณะอาจารย์ MS22-2 ตำบลสำโรงใหม่ เพื่อยื่นหนังสือต่อเทศบาลตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์และผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้าน เพื่อเก็บข้อมูล TCD (CBD)
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ทีมงาน MS22-2 ยื่นหนังสือต่อเทศบาลตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์และผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านเพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD (CBD) ในวันอาทิตย์ ที่ 7 สิงหาคม 2565
วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ทีมงาน MS22-2 ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD (CBD) 500 รายการ โดยแบ่งหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ เกษตรกรในท้องถิ่น,แหล่งน้ำในท้องถิ่น,ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด–19,ภูมิปัญญาท้องถิ่น,สัตว์ในท้องถิ่น,พืชในท้องถิ่น,แหล่งท่องเที่ยว,ร้านอาหารในท้องถิ่น,อาหารที่น่าสนใจในท้องถิ่น และที่พัก/โรงแรม เพื่อบันทึกข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ทีมงาน MS22-2 และคณะอาจารย์ ได้ประชุม ณ ตึกคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิมให้ดูทันสมัยมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน และการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความสวยงาม ความปลอดภัย โครงสร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน กรรมวิธีการผลิต และราคาต้นทุนการผลิต
ทางทีมงานได้ออกแบบลวดลายและรูปทรง ทั้งมูลี่จากต้นกกและกระเป๋าปันรักจากซองกาแฟ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันโหวตลวดลาย รูปทรง ที่เป็นน่าสนใจของท้องตลาด
มูลี่จากต้นกก ลวดลายดอกไม้ส ไตล์มินิมอลเหมาะกับช่วงวัย 20 – 40 ปี
กำหนดขนาดมูลี่ต้นกก 70 x 130 แบบเพ้นด้วยสี
มูลี่จากต้นกก ลวดลายชุมชนสำโรงใหม่ ลายขิด เหมาะกับช่วงวัย 40 – 60 ปี
กำหนดขนาดมูลี่ต้นกก 60 x 130 แบบเย็บผ้าด้วยลายขิด
และกระเป๋าปันรักจากซองกาแฟ รูปร่างรูปทรงที่ทันสมัยมากขึ้น ใช้ได้ทุกช่วงวัย
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ลงพื้นที่ตำบลสำโรงใหม่ เพื่อดูขั้นตอนการผลิตทั้งมูลี่จากต้นกก
วิธีการทำมูลี่จากต้นกก
ขั้นตอนที่ 1 ตัดต้นกกสดและนำมาสอย นำต้นกกที่คัดแล้วมาสอยเป็นเส้นเล็กโดยใช้มีดปลายแหลมคม(มีดแกะสลัก) นำเส้นกกที่สอยแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง(ถ้าเป็นไปได้ต้องเป็นแดดที่กล้าจัด) นำเส้นกกสอยที่ตากแห้งแล้วมากมัดเป็นมัด ๆ รอการย้อมสี
ขั้นตอนที่ 2 การย้อมสี เลือกซื้อสีสำหรับย้อมกกสี่ต่าง ๆ ที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง สีม่วง สีน้ำเงิน เป็นต้น ก่อไฟโดยไฟที่ใช้ต้องสม่ำเสมอ นำปี๊ป หรือกระทะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือด พอน้ำเดือดก็นำสีที่เลือกมาเทลง นำเส้นกกที่คัดเลือกแล้วลงย้อมจนเพียงพอที่จะใช้ในการทอ นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง
ขั้นตอนที่ 3 การทอเสื่อกกลายขิด ลายพื้นบ้าน กางโฮงที่ทำสำเร็จรูปแล้วมากาง (โฮงที่ใช้ขนาดทอคนเดียว) นำเชือกในลอนสำหรับทอเสื่อมาโยงใส่ฟืมจนเสร็จ ฟืมที่ใช้ต้องมีขนาดเท่ากับเส้นกกและฟืมแต่ละฟืมก็อาจจะใช้ทอลายไม่เหมือนกัน นำเส้นกกที่ย้อมสีตามจนแห้งแล้วนำมาทอเสื่อลายขิดตามต้องการซึ่งมีหลายลายด้วยกัน นำเส้นกกที่สอยและย้อมสีแล้วเลือกว่าจะใช้สีใดบ้างที่จะทอเสื่อ เลือกลายแล้วเริ่มทอจนเป็นแผ่น พอทอเสร็จก็ตัดแล้วหลังจากนั้นก็นำไปตากแดดเพื่อให้สีไม่ออก หลังจากนั้นก็นำมาเก็บในที่ร่ม
ขั้นตอนที่ 4 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกเป็นมูลี่ เสื่อที่พิมพ์แล้วนำมาเย็บต่อเป็นผืนโดยใช้จักรเย็บ จากนั้นนำมาตัดเย็บขอบด้วยผ้า เพ้นท์ลวดลายเพื่อให้เป็นมู่ลี่ที่สวยงามตามต้นแบบ
ลงพื้นที่ตำบลสำโรงใหม่ เพื่อดูขั้นตอนการผลิตกระเป๋าปันรักจากซองกาแฟ
วิธีทำกระเป๋าจากซองกาแฟ
ขั้นตอนที่ 1 นำซองกาแฟสำเร็จรูปเปล่ามาล้างและตัดหัวและท้ายออก
ขั้นตอนที่ 2 พับแนวยาวให้มีความกว้าง 1 เซนติเมตร สอดหัวท้ายเข้าด้วยกันและเย็บแม็ก
ขั้นตอนที่ 3 เริ่มสานสลับฟันปลาจากฐานขึ้นมาเรื่อยๆ ให้ได้ขนาดตามกำหนด
ขั้นตอนที่ 4 นำผ้าสีมาตัดให้มีขนาดเล็กกว่าใบกระเป๋าเพื่อที่จะใช้เป็นแผ่นรองในกระเป๋าและเย็บติดข้างใน
ขั้นตอนที่ 5 ใช้เครื่องจักในการเย็บกระเป๋าตามรูปทรงที่ออกแบบ
สรุป ผลการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) MS22-2 ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ จากการที่ได้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ทำให้เกิดทักษะด้านการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เกิดการวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นทีม เกิดภาคีเครือข่ายในชุมชน และสามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้